วันเสาร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

พระพุทธศาสนาในสมัยทวารวดี และศรีวิชัย

พระพุทธศาสนาในสมัยทวารวดี และศรีวิชัย
การอพยพของบรรพบุรุษไทยสมัยโบราณ

ในสมัยโบราณ การตั้งถิ่นฐานและการอพยพ ไปตามท้องที่ต่าง ๆ ค่อนข้างอิสระ ไม่ต้องทำหนังสือเดินทางขอวีซ่าเหมือนในสมัยปัจจุบัน ยังไม่มีพรมแดนมาแบ่งสรรกันแน่นอน ชนชาติต่าง ๆ ที่เดินทางมา ต่างก็มีสิทธิจับจองที่ดินสร้างบ้างแปลงเมืองขึ้น สุดแต่ว่าใครมีอำนาจเหนือกว่าก็ชนะ เพราะฉะนั้น การอพยพของคนในสมัยโบราณจะมีอยู่ ๒ ลักษณะ พวกหนึ่งจะพยายามอพยพไปทางตะวันขึ้น คือถือเอาดวงอาทิตย์เป็นเป้าหมาย อีกพวกหนึ่งจะพยายามอพยพไปตามลำแม่น้ำ และ ลำน้ำที่ชนชาติไทยคุ้นเคยในภาคใต้ของจีนก็คือแม่น้ำโขงและแม่น้ำสาละวิน การอพยพจึงต้องพยายาม เดินตามลำน้ำทั้ง ๒ สายนี้ การอพยพก็มาเป็นคราว ๆ ครั้งละหลายร้อยครัวเรือน แต่ก็มิ ได้หมายความว่าชนชาติไทยได้อพยพลงมาสู่สุวรรณภูมิทั้งหมด คนที่ไม่ได้อพยพมีมาก กว่าพวกที่อพยพ พวกที่ไม่ได้อพยพมาก็ได้ตั้งอาณาจักรสร้างบ้านแปลงเมือง โดยมีเมืองหนองแสเป็นราชธานีอยู่ในมณฑลยูนาน เนื่องด้วยชนชาติไทยนับถือพระพุทธศาสนาจึงรับเอาวัฒนธรรมจากอินเดียเข้ามาด้วย บางครั้งก็เรียกประเทศของตนว่า คันธารรัฐ เมืองหนองแสเรียกว่า ตักกสิลานคร ยกย่องพระมหากษัตริย์ไทยด้วยภาษาอินเดียว่ามหาราชะ แต่จีนเรียกว่า "น่านเจ้า" หมายถึงผู้เป็นใหญ่ทางทิศใต้ โดยได้ทำสงครามกับจีนเรื่อยมา ต่อมาในราวศตวรรษที่ ๑๘ กองทัพกุบไลข่านได้ยกกองทัพมาตีประเทศจีน ได้เข้าตีอาณาจักรน่านเจ้าก่อน แล้วจึงย้อนเข้าไปตีราชสำนักซ้อง น่านเจ้าจึงเสียแก่พวกมองโกล ภายหลังถูกยุบเป็นเพียงจังหวัดหนึ่งขึ้นตรงต่อจีน อาณาจักรไทยในยูนานจึงอวสานลง บรรพบุรุษของชนชาติไทย
บรรพบุรุษของชนชาติไทยนั้น เมื่อประมาณ ๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว ตั้งถิ่นฐานอยู่ทางภาคเหนือของลุ่มแม่ย้ำแยงซีเกียง ต่อมา ได้อพยพร่นลงมาทางใต้เพราะถูกชนชาติจีนรุกราน จนกระทั่งในราวพุทธศตวรรษที่ ๖ ตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าฮั่นเม้งตี่หรือฮั่นเม้งเต้ราชวงศ์ฮั่น จีนแผ่อิทธิพลเข้ามาถึงอาณาจักรอ้ายลาวของไทย พระมหากษัตริย์พระองค์แรกของไทยในสมัยอาณาจักรอ้ายลาวคือ "ขุนหลวงเม้า" มีพลเมืองอยู่ประมาณ ๕๕๓,๗๖๑ คน อาณาเขตของไทยทางทิศตะวันตกติดกับอินเดีย มีสมณทูตจากอินเดียเข้ามาเรื่องราวในตำนานสมัยนี้จึงเกี่ยวพันกับพระเจ้าอโศกว่าพระองค์ได้ทรงส่งสมณทูต เข้ามา สมณทูตได้ผ่านแว่นแคว้นขึ้นไปถึงเมืองจีน เพราะฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่า ชนชาติไทยนั้นได้เริ่มนับถือพระพุทธศาสนาในพุทธศตวรรษที่ ๖ ในอาณาจักรอ้ายลาว เรียกได้ว่านับถือพระพุทธศาสนาก่อนที่จะมาตั้งถิ่นฐานในแดนสุวรรณภูมิเสียอีก แต่การนับถือนั้นน่าจะนับถือในหมู่ชนชั้นสูง ราษฎรทั่วไปคงนับถือผีสางเจ้าป่าเจ้าเขา ต่อมา ในราวศตวรรษที่ ๘ เสนาธิการและแม่ทัพของพระเจ้าเล่าปี่ คือขงเบ้งได้ยกกองทัพข้ามแม่น้ำทรายทองตีอาณาจักรอ้ายลาวของไทยแตก รุกลงมาถึงภาคเหนือของพม่า ชนชาติไทยจึง เริ่มอพยพเข้ามาสู่ดินแดนที่เรียกกันว่าสุวรรณภูม

พระพุทธศาสนาในราชอาณาจักรไทย
พระพุทธศาสนาแพร่เข้าสู่ประเทศไทย
ในพุทธศตวรรษที่ ๓ พระเจ้าอโศกมหาราช แห่งราชวงศ์เมารยะ ซึ่งตั้งราชธานีอยู่ที่กรุงปาฎลีบุตร แคว้นมคธในอินเดีย พระองค์เลื่อมใสพระพุทธศาสนามาก และ โดยการแนะนำของพระมหาเถราจารย์รูปหนึ่ง คือพระโมคคัลลีบุตรติสสะ พระมหาราช จึงโปรดให้สั่งธรรมทูตอัญเชิญพระพุทธศาสนา จารึกแพร่หลายทั่วทิศานุทิศทั้งในประเทศอินเดียและประเทศอื่น ๆ ภายนอก ปรากฏว่าคณะธรรมทูตชุดหนึ่ง ซึ่งมีพระโสณะและพระอุตตระเป็นหัวหน้าได้มาสู่สุวรรณภูมิ แล้วตั้งหลักพระพุทธศาสนาขึ้นที่นั่น ก็สุวรรณภูมิในที่นี้ ได้แก่ดินแดนตอนใดตอนหนึ่งในแหลมอินโดจีนนี่เอง ชาวอินเดียสมัยก่อนพุทธกาล เคยไปมาค้าขายติดต่อกับสุวรรณภูมิอยู่เสมอ จึงเป็นข้อสันนิษฐานว่า คงจะมีชาวอินเดียเข้ามาตั้งรกรากแพร่อารยธรรมแก่ชาวพื้นเมืองในดิน แดนแถบเอเชียอาคเนย์นี้แต่โบราณนานไกลแล้ว และโดยเฉพาะเมื่อพระพุทธศาสนาเจริญขึ้นในอินเดีย พระพุทธศาสนาไม่ถือลัทธิรังเกียจการไปตั้งแหล่งต่างถิ่น เหมือนพวกที่ถือศาสนาพราหมณ์บางเหล่าจึงปรากฏว่าได้มีพวกอินเดียที่ถือพระพุทธศาสนาเข้า มาอยู่ในแหลมอินโดจีนมากขึ้น ในจำเนียรการต่อมา เลยเป็นสาเหตุให้พวกถือลัทธิพราหมณ์พลอยหายรังเกียจอพยพมาแสวงหาโชติมากขึ้นกว่าเดิม และพวกนี้ไม่ได้สอนลัทธิอย่างเดียวเท่านั้นยังไม่ได้มาสร้างบ้านเมืองตั้งเป็นอาณาจักรขึ้นหลายแห่ง ปกครองพวกมนุษย์เจ้าถิ่นอีกด้วย ส่วนสุวรรณภูมิอันเป็นแหล่งแรกที่พระพุทธศาสนามาตั้งมั่นนั้น เข้าใจว่าน่าจะได้แก่บริเวณตั้งแต่ตอนใต้ของพม่าเดี๋ยวนี้( ซึ่งสมัยต่อมาเป็นอาณา จักรมอญ ) กินตลอดลงมาถึงภาคกลางของประเทศไทย มีศูนย์กลางสำคัญอยู่ที่จังหวัดนครปฐมมีพวกมอญ ละว้าเป็นคนพื้นเมือง เนื่องด้วยที่บริเวณจังหวัดดังกล่าว ปรากฏซากโบราณสถานมากมายล้วนแต่ใหญ่โต สร้างตามคตินิยมเก่า ถึงครั้งพระเจ้าอโศกมหาราชก็มี เช่น พระสถูปปฐมเจดีย์องค์เดิมซึ่งอยู่ภายในพระสถูปใหญ่ที่เห็นอยู่บัดนี้ ตามรูปเดิมก็สร้างเป็นรูปทรงโอคว่ำ อย่างพระสถูปสัญจิในอินเดีย และภาพอุเทสิกเจดีย์อื่นๆ ที่ทำเป็นรูปพระธรรมจักรมีกวางหมอบ รูปพระแท่นเปล่า ๆ ฯลฯ ซึ่งสร้างกันในสมัยที่ชาวอินเดียยังไม่นิยมสร้างพระพุทธรูป คตินิยมที่สร้างอุเทสิกเจดีย์ดังกล่าวก็มีปรากฏที่โบราณสถานที่นครปฐม นอกจากนี้ในระยะสมัยต่อมาแบบพุทธศิลปะของอินเดียยุคสำคัญ ๆ เช่นพุทธศิลปะสมัยอมราวดี และสมัยคุปตะก็มีแพร่หลายเข้ามาเจริญที่ศูนย์กลางแห่งนี้อีกเหมือนกัน จึงเป็นอันยุติได้ว่าจำเดิมแต่พระพุทธศาสนามาตั้งมั่นลง ณ ภาคกลางแห่งประเทศไทย ก็ได้เจริญงอกงามพัฒนาตลอดมาไม่ขาด อนึ่ง พระพุทธ ศาสนาซึ่งพระโสณะและพระอุตตระนำเข้ามานั้น เป็นพระพุทธศาสนาสาวกยานนิกายเถรวาท ซึ่งเป็นนิกายดั้งเดิม เคารพมติของพระอรหันต์ครั้งปฐมสังคายนา โดยการรักษาพระธรรมวินัยของสมเด็จพระพุทธองค์ ได้บริสุทธิ์บริบูรณ์ดี



สมัยทวาราวดี
ในยุคพุทธศตวรรษที่ ๑๑ ขณะที่อิทธิพลของฟูนันกระทบกระเทือน ก็ปรากฏว่าพวกมอญในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ถือโอกาสประกาศอิสรภาพตั้งเป็นอาณาจักรทวารวดีขึ้น อาศัยเป็นศูนย์กลางความเจริญรุ่งเรืองมาเก่าก่อน แต่ครั้งยังเป็นแว่นแคว้นสุวรรณภูมิ อาณาจักรทวารวดีจึงเจริญอย่างรวดเร็ว ทั้งในด้านศิลปะและการพระศาสนา ซึ่งปรากฏว่า อาณาจักรนี้ได้รักษาจารีตของพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ซึ่งรับมาครั้งพระเจ้าอโศก มหาราชไว้อย่างเคร่งครัด อาณาจักรทวาราวดีมีความสัมพันธ์กับชาวพุทธอินเดียในลุ่มแม่น้ำคงคามาก ฉะนั้นพุทธศิลปะของทวาราวดีมีเลียนแบบราชวงศ์คุปตะ ศูนย์กลางของทวาราวดีก็คงอยู่ที่นครปฐมนั่นเอง ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ปรากฏว่าอานุภาพของทวาราวดีได้ขยับขยาย เหนือขึ้นไปจนถึงลพบุรี และจากลพบุรีได้แผ่ขึ้นไปอีกจนถึง ภาคเหนือของประเทศไทย ดังปรากฏในตำนานว่าพระนางจามเทวีซึ่งมีเชื้อสายมอญจากลพบุรีได้ขึ้นไปครองนครหริภุญชัยหรือลำพูน และพระนางได้นิมนต์พระสงฆ์จำนวนถึง ๕๐๐ รูป ซึ่งทางพระไตรปิฎกขึ้นไปฟื้นฟูพระพุทธศาสนาที่เมืองลำพูนด้วย เป็นเหตุหนึ่งที่พระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท จากทวาราวดีได้ไปตั้งมั่นที่ทางภาคเหนือ เป็นการย้ำสัทธาปสาทะของประชาชนในภาคนี้ ให้กระชับแนบกับพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทแน่นหนาขึ้น พวกมอญได้ปกครองหัวเมืองเหนือหลายร้อยปี จารึกภาษามอญเก่าเราอาจพบได้ ตั้งแต่นครปฐมลพบุรี ตลอดจนถึงลำพูน
ตกราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕ อาณาจักรเจนละได้เปลี่ยนเป็นประเทศเขมรโบราณ อิทธิพลของเขมรโบราณ ได้แผ่ครอบงำแทนที่อาณาจักรทวาราวดี เขมรได้ตั้งหัวเมืองทำนองเป็นเมืองประเทศราช ขึ้นหลายเมือง เช่นในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เขมรได้ยกเมืองลพบุรีขึ้นเป็นเมืองลูกหลวง ในลุ่มแม่น้ำป่าสักท้องที่จังหวัดเพชรบูรณ์ บัดนี้ ก็มีเมืองศรีเทพเป็นเมืองสำคัญ นอกจากนี้อิทธิพลของเขมร ยังกินขึ้นไปถึงภาคอีสานด้วย มีเมืองพิมาย,เมืองสกลนครเป็นหัวเมืองสำคัญ แต่อย่างไรก็ดี อำนาจของเขมร ก็ยังไม่สามารถรุกล้ำเข้าไปล้างอำนาจมอญในภาคเหนือและภาคพายัพโดยสิ้นเชิงได้
ผืนแผ่นดินจุดแรกของอาณาจักรสุวรรณภูมิ หรือที่เรียกกันว่า “แหลมทอง” ซึ่งท่าน พระโสณะกับพระอุตตระ ได้เดินทางจากชมพูทวีปเข้ามาประดิษฐานนั้น จดหมายเหตุของหลวงจีนเหี้ยนจัง เรียกว่า “ทวาราวดี” สันนิษฐานว่าได้แก่ที่จังหวัดนครปฐม เพราะมีโบราณสถานและโบราณวัตถุต่าง ๆ เช่น พระปฐมเจดีย์ ศิลารูปพระธรรมจักร เป็นต้น ปรากฏว่าเป็นหลักฐานประจักษ์พยานอยู่
พระพุทธศาสนาที่เข้ามาในครั้งนี้ เป็นแบบเถรวาทดั้งเดิม พุทธศาสนิกชนได้มีความศรัทธาเลื่อมใสบวชเป็นพระภิกษุจำนวนมากและได้สร้างสถูปเจดีย์ไว้สักการะบูชา เรียกว่า สถูปรูปฟองน้ำ เหมือนสถูปสาญจีในอินเดีย ที่พระเจ้าอโศกทรงสร้างขึ้น ศิลปะในยุคนี้เรียกว่า ศิลปะแบบทวาราวดี


สมัยอาณาจักรอ้ายลาว
พระพุทธศาสนาในยุคนี้เป็นแบบมหายาน ในสมัยที่ขุนนางเม้ากษัตริย์ไทย ก่อนที่จะอพยพเข้ามาสู่ประเทศไทยปัจจุบัน ครองราชย์อยู่ในอาณาจักรอ้ายลาวได้รับเอา พระพุทธศาสนามหายานผ่านมาทางประเทศจีน โดยการนำของพระสมณทูตชาวอินเดียมาเผยแผ่ ในคราวที่พระเจ้ากนิษกะมหาราชทรงอุปถัมภ์การสังคายนาครั้งที่ ๔ ของฝ่ายมหายาน ณ เมืองชลันธร พระสมณทูตได้เข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเอเซียกลาง พระเจ้ามิ่งตี่ กษัตริย์จีนทรงรับพระพุทธศาสนาไปเผยแผ่ในจีน และได้ส่งทูตมาเจริญสัมพันธไมตรีกับอาณาจักรอ้ายลาว คณะทูตได้นำเอาพระพุทธศาสนามาด้วย ทำให้หัวเมืองไทยทั้ง ๗๗ มีราษฎร ๕๑,๘๙๐ ครอบครัว หันมานับถือพระพุทธศาสนาแบบมหายานเป็นครั้งแรก

อาณาจักรเจนละ
(ครั้งหลังของ ค.ศต. ๖- ค.ศ. ๘๐๒ พ.ศต. ๑๑- พ.ศ. ๑๓๔๕)
อาณาจักรเจนละ ตั้งอยู่ถัดอาณาจักรฟูนันขึ้นไปทางเหนือและอยู่ทางทิศตะวัน ตกเฉียงใต้ของอาณาจักรจัมปา ตรงกับภาคใต้ของลาวและภาคเหนือของกัมพูชาในปัจจุบัน มีศิลาจารึกบอกความไว้ว่า วงศ์กษัตริย์ของเจนละสืบเชื้อสายมาจากฤาษีกัมพูสวยัมภูวะ สมสู่กับเทพธิดาเมรา จึงได้ชื่อว่า ‘กัมพูชา’ ( กัมพู + ช = ผู้เกิดจากกัมพู) และจึงถือว่ายุคของกัมพูชาหรือเขมรเริ่มต้นแท้จริงในสมัยของเจนละ เจนละเป็นเมืองขึ้นของฟูนั่นมาก่อนจนถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๑ จึงมีกำลังเข้มแข็งขึ้น เริ่มตั้งตัวเป็นอิสระด้วยการเลิกถวายเครื่องราชบรรณาการแก่ กษัตริย์ฟูนันและในที่สุดได้รบชนะพวก ฟูนันที่ยกทัพมาปราบ ณ นครจัมปาศักดิ์ จึงถือว่าเป็นการเริ่มต้นยุคอาณาจักรเจนละ
พระเจ้าภววรมันขึ้นครองราชย์เป็นปฐมกษัตริย์ในราว พ.ศ. ๑๐๙๓ กษัตริย์เจนละในระยะต้นนี้คงจะนับถือศาสนาฮินดูนิกายไศวะเป็นหลัก เพราะปรากฏว่าพระเจ้าภววรมันได้ทรงสร้างเทวาลัยอุทิศพระศวภัทเรศวร และประดิษฐานศิวลึงค์องค์หนึ่งในตอนปลายรัชกาล และกษัตริย์พระองค์ที่ ๒ (พระเจ้ามเหนทรวรมัน นามเดิมว่าเจ้าชายจิตรเสน) เมื่อพิชิตศึกฟูนันสำเร็จอีก ก็ได้ทรงประดิษฐานศิวลึงค์ถวายแด่พระอิศวรเป็นการฉลองชัยชนะ กษัตริย์พระองค์ที่ ๓ ของเจนละพระนามว่า อีศานวรมันที่ ๑ ทรงมีอำนาจเข้มแข็งมาก ได้ทรงปราบอาณาจักรฟูนันรวมเข้ากับดินแดนในอาณาจักรเจนละโดยสิ้นเชิง ใน พ.ศ. ๑๑๗๐ และขยายอาณาเขตออกไปแทบทุกทิศ โดยเฉาพะทางด้านตะวันตกแผ่มาถึงจังหวัดจันทบุรีปัจจุบัน บางตำรากล่าวว่า ศาสนาฮินดู ลัทธิหริหระเกิดขึ้นในรัชกาลนี้ และได้มาการเบียดเบียนพระพุทธศาสนาอย่างมากมายจนแทบจะสูญสิ้น
ต่อมาในตอนต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๓ มีกษัตริย์ผู้เข้มแข็งอีกพระองค์หนึ่งพระนามว่า ชัยวรมันที่ ๑ ( ครองราชย์ประมาณ พ.ศ. ๑๑๙๓ – ๑๒๕๖ ) ทรงขยายอาณาเขตไปจนจดอาณาจักรน่านเจ้า ในรัชกาลนี้มีหลักฐานแสดงว่าพระพุทธศาสนายังเจริญ รุ่งเรืองอยู่ ( หรืออาจกลับเจริญขึ้นมาอีก )คือมีศิลาจารึกที่วัดไพรเวียรใกล้เมืองวยาธปุระ เมื่อ พ.ศ. ๑๒๐๗ กล่าวถึงกษัตริย์สององค์พี่น้องนามว่า รัตนภานุ และรุตนสิงหะ ได้ทรงผนวช พระเจ้าชัยวรมันที่ ๑ ได้ทรงมีพระบัญชาให้สร้างวัดถวายและให้รักษาวัดนั่นให้ยั่งยืน เรื่องนี้ชาวบ้านยังเล่าสืบๆ กันมา และถือเป็นประเพณีที่จะปฏิบัติตามพระราชบัญชาให้รักษาวัดนั้น
อนึ่ง หลวงจีนอี้จิง ซึ่งได้จารึกไปอินเดียและเดินทางผ่านทะเลใต้ ( ออกจากจารึกจนกลับถึงจีน พ.ศ. ๑๒๑๔ – ๑๒๓๘ ) ได้เขียนบันทึกไว้ว่า ในประเทศฟูนัน ( ตอนนี้เท่ากับพูดว่าเจนละนั่นเอง ) พุทธศาสนารุ่งเรืองมาก มีวัดทั่วไปทุกแห่ง มีสถาน ที่ศักดิ์สิทธิ์ของพราหมณ์อยู่ใกล้กันกับวักพระพุทธศาสนาทั้งสองศาสนาอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ประชาชนทั่วไปนิยมบวชในพระพุทธศาสนา แม้พวกเจ้านายก็บวชเช่นเดียวกัน
ต่อมาหลังรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันไม่นาน อาณาจักรเจนละก็แตกแยกออกเป็น ๒ ส่วน กลายเป็นเจนละบกหรือเจนละเหนือฝ่ายหนึ่ง กับเจนละน้ำหรือเจนละใต้อีกฝ่ายหนึ่ง ในตอนปลายยุค เจนละน้ำจะตกอยู่ใต้อิทธิพลของชวา หลังจากแยกกันออกมา ประมาณ ๑ ศตวรรษ ยุคเจนละก็สิ้นสุดลงด้วยสาเหตุขัดแย้งกับอาณาจักรชวา กล่าวคือในตอนกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๔ กษัตริย์ราชวงค์ไศเลนทรแห่งชวา ได้ยกทัพเรือมาตีเจนละ จับพระเจ้ามหิปติวรมัน แห่งเจนละน้ำตัดพระเศียร ส่วนพระเจ้าชัยวรมันที่ ๒ ซึ่งขึ้นครองราชย์สืบต่อมา ก็ได้ย้ายเมืองหลวงไปตั้งอาณาจักรใหม่ที่อื่น ยุคเจนละจึงสิ้นสุดลง

มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า ตามหลักฐานในทางโบราณคดี มีรูปพระโพธิสัตว์ต่างๆ เป็นต้นแสดงว่าพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานคงจะเผยแผ่เข้ามาในแถบอาเซียตะวันออกเฉียงใต้ในระยะใกล้ พ.ศต. ๑๔ นี้เอง โดยอิทธิพลจากอาณาจักรศรีวิชัย และเมื่อเข้ามาแล้วก็ได้แพร่หลายไปอย่างรวดเร็วเพราะมีลักษณะคล้ายกับศาสนาพราหมณ์ และเพราะได้ รับการสนับสนุนส่งเสริมจาพระมหากษัตริย์ ดังจะเห็นได้ในยุคต่อไป นอกจากนั้นแม้พุทธศาสนาลัทธิตันตระก็ได้ติดตามเข้ามาอีกในเวลาหลังจากนั้นไม่นาน และได้เป็นที่ มาแหล่งหนึ่งแห่งประเพณีของประเทศ แต่ไม่สู้มีอิทธิพลกว้างขวางมากนัก


สมัยศรีวิชัย พ.ศ. ๑๓๐๐
พระพุทธศาสนาสมัยศรีวิชัย
ในสมัยที่อาณาจักรทวารวดี กำลังรุ่งเรืองอยู่นั้น ปรากฏว่าทางภาคใต้ของประเทศไทย ได้มีแว่นแคว้นใหญ่น้อยหลายแคว้น ดังปรากฏในจดหมายเหตุจีนเรียกชื่อประเทศเชิ๊ยโท้ ( แปลว่า ดินแดง ) ได้แก่แถวรัฐไทรบุรีในมลายูบัดนี้ มีพลเมือง นับถือพระพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์ ประเทศผานผานได้แก่บริเวณท้องที่จังหวัด สุราษฎร์ธานีบัดนี้ มีพลเมืองนับถือพระพุทธศาสนาฝ่ายสาวกยาน และที่เมืองเวียงสระเราเคยขุดพบพระพุทธรูปสมัยคุปตะดินแดนเหล่านี้ เคยมีสัมพันธ์ติดต่อกับอาณาจักรทวาราวดี จนถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๒ อาณาจักรศรีวิชัย ได้เกิดขึ้นที่เกาะสุมาตรา ภาย หลังได้แผ่ขยายอำนาจรุกล้ำขึ้นมาทางแหลมมลายู และปราบแว่นแคว้นต่างๆ ในแหลมมลายู มีอาณาเขตทางเหนือติดต่อกับอาณาจักรทวาราวดีในระยะเวลาดังกล่าว แคว้นเหล่านี้พระพุทธศาสนาฝ่ายสาวกยานยังรุ่งเรืองดี นักธรรมจารึกอี้จิงบันทึกว่าอาณาจักรนี้พระราชาตลอดจนประชาราษฎร์ศรัทธาปสาทะในพระพุทธศาสนามาก มีพระภิกษุสงฆ์ในนครหลวงกว่าพันรูป และมีคณาจารย์สำคัญรูปหนึ่ง ซึ่งศากยเกียรติ
อาณาจักรศรีวิชัยในเกาะสุมาตราเจริญรุ่งเรืองในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๓ ได้แผ่อำนาจเข้ามาถึงจัดหวัดสุราษฎร์ธานี กษัตริย์ศรีวิชัยทรงนับถือพุทธศาสนาแบบมหายาน พระพุทธศาสนาแบบมหายานจึงได้แผ่เข้ามาสู่ภาคใต้ของไทย ดังหลักฐานที่ปรากฏคือเจดีย์พระบรมธาตุไชยา พระบรมธาตุนครศรีธรรมราช และรูปหล่อพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ๔. สมัยลพบุรี พ.ศ. ๑๕๕๐
ในสมัยกษัตริย์กัมพูชาราชวงศ์สุริยวรมันเรืองอำนาจนั้น ได้แผ่อาณาเขตขยายออกมาทั่วภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางของประเทศไทย ในราว พ.ศ. ๑๕๔๐ และได้ตั้งราชธานีเป็นที่อำนวยการปกครองเมืองต่าง ๆ ในดินแดนดังกล่าวขึ้นหลายแห่ง เช่น
เมืองลพบุรี ปกครองเมืองที่อยู่ในอาณาเขตทวาราวดี ส่วนข้างใต้ เมืองสุโทัย ปกครองเมืองที่อยู่ในอาณาเขตทวาราวดีส่วนข้างเหนือ
เมืองศรีเทพ ปกครองหัวเมืองที่อยู่ตามลุ่มแม่น้ำป่าสัก
เมืองพิมาย ปกครองเมืองที่อยู่ในที่ราบสูงต้อนข้างเหนือ
เมืองต่าง ๆ ที่ตั้งขึ้นนี้เมืองลพบุรีหรือละโว้ ถือว่าเป็นเมืองสำคัญที่สุด กษัตริย์กัมพูชาราชวงศ์สุริยวรมัน ทรงนับถือพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ซึ่งมีสายสัมพันธ์เชื่อมต่อมาจากอาณาจักรศรีวิชัย แต่ฝ่ายมหายานในสมัยนี้ผสมกับศาสนาพราหมณ์มาก ประชาชนในอาณาเขตต่าง ๆ ดังกล่าว จึงได้รับพระพุทธศาสนาทั้งแบบเถรวาทที่สืบมาแต่เดิมด้วย กับแบบมหายานและศาสนาพราหมณ์ที่เข้ามาใหม่ด้วย ทำให้มีผู้นับถือพระพุทธศาสนา ๒ แบบ และมีพระสงฆ์ทั้งสองฝ่าย คือฝ่ายเถรวาทและฝ่ายมหายาน และภาษาสันสกฤตอันเป็นภาษาหลักของศาสนาพราหมณ์ และพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานก็ได้เริ่มเข้ามามีอิทธิพลในด้านภาษาและวรรณคดีไทยตั้งแต่บัดนั้นมา
สำหรับ ศาสนสถานที่เป็นที่ประจักษ์พยาน ให้ได้ศึกษาถึงความเป็นมาแห่งพระพุทธศาสนาในประเทศไทยครั้งนั้น คือ พระปรางค์สามยอดที่จังหวัดลพบุรี ปราสาทหินพิมาย ที่จังหวัดนครราชสีมา และปราสาทหินเขาพนมรุ้งที่จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นต้น ส่วนพระพุทธรูปที่สร้างในสมัยนั้นก็เป็นแบบขอม ถือเป็นศิลปะอยู่ในกลุ่ม ศิลปสมัยลพบุรี

สมัยเถรวาทแบบพุกาม
ในสมัยที่พระเจ้าอนุรุทธมหาราช กษัตริย์พุกามเรืองอำนาจ ทรงรวบรวมเอาพม่ากับรามัญเข้าเป็นอาณาจักรเดียวกัน แล้วแผ่อาณาเขตเข้ามาถึงอาณาจักรล้านนา ล้านช้าง จนถึงลพบุรี และทวาราวดี พระเจ้าอนุรุทธทรงนับถือพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ทรงส่งเสริมทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง ส่วนชนชาติไทย หลังจากอาณาจักรอ้ายลาวสลายตัว ก็ได้มาตั้งอาณาจักรน่านเจ้า ถึงประมาณ พ.ศ. ๑๒๙๙ ขุนท้าวกวาโอรสขุนบรมแห่งอาณาจักรน่านเจ้า ได้สถาปนาอาณาจักรโยนกเชียงแสนในสุวรรณภูมิ หลังจากนั้นคนไทยก็กระจัดกระจายอยู่ทั่วภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางของประเทศไทยปัจจุบัน เมื่อกษัตริย์พุกาม (กัมพูชา) เรืองอำนาจ คนไทยที่อยู่ในเขตอำนาจของขอม ก็ได้รับทั้งศาสนาและวัฒนธรรมของเขมรไว้ด้วย
ส่วนทางล้านนาก็ได้รับอิทธิพลจากขอมเช่นเดียวกัน คือเมื่ออาณาจักรพุกามของกษัตริย์พม่าเข้ามาครอบครองดินแดนแถบนี้ ดังเห็นว่ามีปูชนียสถานแบบพม่าหลายแห่ง และเจดีย์ที่มีฉัตรอยู่บนยอด และฉัตรที่ ๔ มุมของเจดีย์ ก็ได้รับอิทธิพลมาจากพุกามแบบพม่า

พระพุทธศาสนาในลาว
ชนชาติลาว มีความเป็นมาแต่เดิมเกี่ยวกับชาติวงศ์และการอพยพถิ่นฐานเป็นต้น จนถึงตั้งหลักแหล่งในดินแดนปัจจุบันเนื่องเป็นอันเดียวกันกับชนชาติไทย มีเรื่อง ราวที่ควรทราบโดยย่อว่า เมื่อประมาณ พ.ศ. ๑๑๙๔ ชนชาติใหญ่พวกหนึ่ง ซึ่งเรียกตัวเองว่า ไท พวกพม่าเรียกว่า ฉาน พวกจีนเรียกว่า อ้ายลาว หรืองายลาว ได้อพยพมาจากอาณาจักรอ้ายลาวลงมาทางไต้ ตั้งอาณาจักรใหม่ขึ้นว่า น่านเจ้า ต่อมาเจ้าไทยน่านเจ้าชื่อ ขุนบรม ( ขุนลุง หรือขุนหลวง ก็ว่า ) ได้ยกลงมาครอบครองแผ่นดินใต้ลงมาอีก และขยายอาณาเขตกว้างขวางออกไป ขุนบรมมีโอรส ๗ องค์ และให้ได้โอรสเหล่านั้นไปสร้างบ้านแปลงเมืองต่าง ๆ มีเมืองโยนก เมืองละโว้ เมืองพวน เป็นต้น โอรสองค์ที่หนึ่งชื่อ ขุนลอ ไปรบได้เมืองชวา ( ได้แก่ เมืองเช่า ต่อมารียกเชียงทองหรือล้านช้าง และในที่สุดเป็นเมืองหลวงพระบาง ) เมื่อประมาณ พ.ศ. ๑๒๙๐ เจ้าเมืองชวาได้สืบเชื้อสายสืบต่อกันมาโดยลำดับ เมื่ออาณาจักรเขมรเรืองอำนาจขึ้น เมืองชวาก็ตกอยู่ในอำนาจเขมรด้วยเช่นเดียวกับชนชาติไทยพวกอื่นที่อยู่ใกล้เคียง ครั้นถึง พ.ศ. ๑๗๙๖ อาณาจักรน่านเจ้าเสียแก่กุบไลข่าน คนไทยก็แผ่ซ่านกระจายลงมาทางใต้เพิ่มจำนวนมากขึ้น
ก. ยุคก่อตั้งและเจริญมั่นคง
เจ้าเมืองชวาองค์ที่ ๒๒ ( บางแห่งว่าที่ ๓๕ ) นามว่า พญาสุวรรณคำผง ขึ้นครองราชย์ เมื่อ พ.ศ. ๑๘๕๙ ทรงมีโอรสพรนามว่า เจ้าผีฟ้า และเจ้าผีฟ้ามีโอรส ๖ องค์ องค์ที่หนึ่งชื่อ เจ้าฟ้างุ้ม ครั้งนั้นได้มีเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งทำให้เจ้าฟ้างุ้มลัดพรากจากชาติภูมิไปพำนักอยู่ในอาณาจักรเขมรตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ เวลานั้นพระพุทธศาสนาแบบเถรวาทได้เจริญรุ่งเอง ขึ้นเป็นศาสนาหลักของอาณาจักรเขมรแล้ว เจ้าฟ้างุ้มทรงอาศัยอยู่กับพระภิกษุชื่อพระมหาปาสมันตเถระ เจ้าอาวาสวัดแห่งหนึ่ง เมื่อเจริญวัยขึ้น พระเถระได้นำไปฝากเป็นมหาดเล็กในราชสำนักของกษัตริย์เขมร(ปราชญ์สันนิษฐานว่าได้แก่พระเจ้าชัยวรนปรเมศวร)เจ้าฟ้างุ้มรับราชการเป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าแผ่นดิน ถึงกับทรงยกพระราชธิดานามว่า พระนางแก้วเกงยา หรือแก้วยอดฟ้า ( เรียกว่า เจ้าหญิงคำหยาดบ้าง เรียกอย่างอื่นบ้างก็มี ) ให้เป็นชายา
สมัยนั้น อาณาจักรเขมรกำลังเสื่อมอำนาจลง และใน พ.ศ. ๑๘๙๓ พระเจ้ารามา ธิบดีที่ ๑ แห่งราชวงศ์อู่ทอง ได้ตั้งอาณาจักรไทยขึ้นที่กรุงศรีอยุธยา แล้วเริ่มแผ่ขยายอำนาจออกไป กษัตริย์เขมรทรงเกรงการรุกรานของไทยอยุธยา จึงโปรดให้เจาฟ้างุ้มไปครองเมืองล้านช้าง เพื่อเป็นกำลังป้องกันไทยอยุธยาต่อไป เจ้าฟ้างุ้มขึ้นครองราชย์ใน พ.ศ. ๑๘๙๖ ( หลังจากอาณาจักรไทยศรีอยุธยาตั้งขึ้นได้ ๓ ปี ) ทรงเป็นวีรกษัตริย์สามารถรวบรวมหัวเมืองต่างๆ ในลุ่มแม่น้ำโขงตอนบนเข้าเป็นอันเดียว มีอาณาเขตทางเหนือจดสิบสองปันนา ทางใต้จดอาณาเขตเขมร ตะวันตกจดอาณาเขตเชียวใหม่ สุโขทัย และอยุธยา ตะวันออกจดอันนัม และจัมปา เรียกได้ว่าทรงเป็นปฐมกษัตริย์ในประวัติศาสตร์แห่งอาณาจักรล้านช้าง ( ก่อนหน้านี้มีแต่ตำนาน ) และต่อมาตัวเมืองล้านช้างหรือเมืองหลวงของอาณาจักรล้านช้าง ก็มีชื่อเป็นทางการว่า ‘กรุงศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาว’
ในด้านศาสนา แม้ว่าชาวล้านช้างจะได้รับนับถือพระพุทธศาสนาแบบมหายานผ่านทางจีนมาแต่ครั้งยังอยู่อาณาจักรอ้ายลาวเช่นเดียวกับชาวไทยพวกอื่น ในสมัยของขุนหลวงเม้า ( ลีเมา หรือลิวเมา ก็ว่า ) เมื่อประมาณ พ.ศ. ๖๒๐ แล้วก็ตาม แต่เมื่อถึงสมัยอาณาจักรล้านช้างนี้ ความเชื่อถือนั้นคงจะได้เลือนรางจางหายไปแล้ว จึงปรากฏว่า ราษฎรทั่วไปนับถือผีสางเทวดาอันเป็นของพื้นเดิมแต่สมัยโบราณ ทำให้ต้องมีการประ ดิษฐานพระพุทธศาสนาขึ้นใหม่และในคราวนี้เป็นพระพุทธศาสนาแบบเถรวาทที่นำ เข้า มาจากอาณาจักรเขมร
เรื่องนำพระพุทธศาสนาเข้าสู่อาณาจักรล้านช้าง มีหลักบานต่างกันเป็น ๒ อย่าง ฝ่ายหนึ่งว่า พระนางแก้วเกงยา มเหสีของพระเจ้าฟ้างุ้มทรงเป็นพุทธศาสนิกชนผู้เคร่ง ครัด ครั้นได้ทรงเห็นเจ้านายและราษฎรชาวล้านช้างนับถือผี พากันล้มช้างม้าวัวควายทำพลีกรรม ก็ทรงสังเวชพระทัย จึงทุลพระสวามีให้นำพระพุทธศาสนาจากัมพูชาเข้าไปประดิษฐาน พระเจ้าฟ้างุ้มก็ทรงส่งทูตไปแจงความประสงค์แก่กัมพูชา พระเจ้าแผ่นดินเขมรจึงได้ส่งพระภิกษุสงฆ์ มีพระมหาปาสมันตเถระ ซึ่งเป็นอาจารย์ของพระเจ้าฟ้างุ้ม และพระมหาเทพลังกาเป็นหัวหน้าพร้อมด้วยนักปราชญ์ ช่าง และคนผู้แวดล้อมเป็นบริวารเป็นจำนวนมาก นำพระพุทธรูปปางห้ามญาติชื่อ “พระปาง” และพระไตรปิฎกกับทั้งศาสนวัตถุอื่นๆ ไปพระราชทานแก่พระเจ้าฟ้างุ้ม
ส่วนหลักฐานอีกฝ่ายหนึ่งว่า เมื่อพระเจ้าฟ้างุ้มครองราชย์แล้วไม่นาน ก็ทรงปรากฏว่าทรงมีพระทัยโหดร้ายทารุณ ความทราบถึงกษัตริย์กัมพูชาผู้เป็นพระสสุระ (พ่อตา) จึงมีรับสั่งให้พระเจ้าฟ้างุ้มไปเฝ้า แล้วพระราชทานให้ปกครองพสกนิกรตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนา ให้สมาทานศีล ๕ และส่งกลับล้านช้างพร้อมด้วยคณะพระภิกษุสงฆ์ที่กล่าวข้างต้น
สำหรับพระบางนั้น เป็นพระพุทธรูปที่กษัตริย์ลังกาได้ส่งมาถวายแก่พระเจ้าแผ่น ดินเขมร เมื่อพระเจ้าแผ่นดินเขมรพระราชทานแก่พระเจ้าฟ้างุ้มแล้ว ได้นำไปรักษาไว้ที่เมืองเวียงคำก่อนจนถึง พ.ศ. ๒๐๔๕ จึงอัญเชิญขึ้นไปไว้ที่เมืองเชียงทองคือ เมืองชวาหรือล้านช้าง และต่อมาเมืองเชียงทองหรือล้านช้างก็เปลี่ยนเรียกชื่อตามพระบางนั้นว่า เมืองหลวงพระบาง โดยนัยนี้จึงเห็นได้ว่า การสถาปนาอาณาจักรลาวดำเนินไปพร้อมกับการประดิษฐานพระพุทธศาสนาแบบเถรวาท โดยมีพระบางเป็นศูนย์กลางที่รวมจิต ใจของชาติ เป็นทั้งสัญลักษณ์ของพระพุทธศาสนาและเป็นสมบัติคู่เมือง
รัชกาลพระเจ้าฟ้างุ้มมากด้วยการศึกสงคราม ทำให้ราษฎรลาวซึ่งเป็นคนรักสงบมีนิสัยเรื่อยๆ สบายๆ พากันเบื่อหน่ายฝืนใจจนในที่สุดถึง พ.ศ.๑๙๑๖ อำมาตย์ทั้งหลายก็พร้อมใจกันขับพระองค์จากราชบัลลังก์ แล้วอภิเษกพระราชโอรสชนมายุ ๑๗ พรรษา ขึ้นครองราชย์สมบัติ ทรงพระนามจำนวนชายฉกรรจ์ที่สำรวจได้ใน พ.ศ. ๑๙๑๙ ซึ่งมีอายุ ๓๐๐,๐๐๐ คนว่า “พญาสามแสนไท” ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงไทยแห่งศรีอยุธยา และทรงจัดระเบียบบ้านเมืองตามแบบแผนวิธีการที่ทรงได้รับจากประเทศไทยเป็นอันมาก
ในด้านพระศาสนา ทรงสร้างวัดและโรงเรียนปริยัติธรรมในด้านการค้าขาย ล้าน ช้างก็ได้กลายเป็นศูนย์กลางพาณิชยกรรมสำคัญแห่งหนึ่ง ทรงรักษาไมตรีกับไทยและเวียดนามเป็นอย่างดีรัชกาลนี้ ได้ชื่อว่าเป็นสมัยแห่งการจัดสรรระเบียบบ้านเมือและสร้างความเข้มแข็งเป็นปึกแผ่นมั่นคง หลังจากรัชกาลนี้แล้วอาจักรล้านช้างได้มีความสงบสุขตลอดมาเป็นเวลายาวนาน มีการเดือดร้อนจากรุกรานของบเวียดนามที่เป็นเพื่อนบ้านเป็นเหตุการณ์แทรกบ้างแต่เพียงเล็กน้อย และผ่านไปในช่วงระยะเวลาอันสั้น

กาลล่วงมาจนถึงรัชกาลพระเจ้าโพธิสารราช (พ.ศ. ๒๐๖๓ – ๒๐๙๐ ) กษัตริย์พระองค์นี้ทรงเป็นพุทธศาสนิกชนผู้เคร่งครัด ได้ทรงพยายามจูงให้ประชาชนเลิกนับถือผีสางเทวดา ไสยศาสตร์การทรงเจ้าของผีต่าง ๆ เพื่อสถาปนาพระพุทธศาสนาที่บริสุทธ์ถึงกับทรงให้รื้อศาลเจ้ากลวง ศาลเจ้าผีเสื้อเมืองทรงเมืองเสียแต่ประเพณีการนับถือผีได้ฝังแน่นในชีวิตจิตใจของประชาชนมาแต่โบราณแล้ว ยากที่ถอนได้ ความเพียนพยายามของพระองค์จึงไม่ประสบผลสำเร็จ นอกจากนี้พระองค์ได้เสด็จไปประทับ ณ พระราชวังที่สร้างขึ้นใหม่ที่นครเวียงจันทน์ ทำได้ค้าขายกับไทยและเวียดนามสะดวกและได้ผลดียิ่งขึ้น นับว่าทรงเป็นกษัตริย์ลาวองค์แรกที่เสด็จไปประทับที่เมืองนี้
ต่อมาตอนปลายรัชกาล กษัตริย์แห่งล้านนา ณ นครเชียงใหม่สวรรคต ขาดรัชทายาทสายตรงที่จะสืบราชสมบัติ จึงมีผู้อ้างสิทธิในราชสมบัติหลายพวก พระเจ้าโพธิสารราชก็ทรงอ้างสิทธิในราชบัลลังก์นั้นด้วย ในฐานะที่พระราชมารดาของพระองค์เป็นเจ้าหญิงเชียงใหม่ ทรงยกกองทัพไปปราบผู้อ้างสิทธิอื่น ๆ ได้หมดสิ้น เสร็จแล้วทางอาณาจักรล้านนาก็ได้ส่งคณะทูตมาทูลเชิญพระองค์ให้ไปเสวยราชย์ ณ นคร เชียงใหม่ พระเจ้าโพธิสารจึงโปรดให้โอรส ชื่อ เจ้าเชษฐวังโส ไปครองอาณาจักรล้านนา แต่หลักฐานบางแห่งว่า พระเจ้าโพธิสารมีพระเมหสีเป็นเจ้าหญิงเชียงใหม่ ทางฝ่ายล้านนาจึงส่งทูตมาทูลขอโอรสของพระองค์คือ เจ้าชายเชษฐวังโส ชนมายุ ๑๒ พรรษา ไปครองราชย์ ณ นครเชียงใหม่
ต่อมา พ.ศ. ๒๐๙๐ พระเจ้าโพธิสารราชทรงประสบอุบัติเหตุในการล่าสัตว์เสด็จ สวรรคต เกิดเหตุวุ่นวายเกี่ยวกับการสืบราชสมบัติ เจ้าชายเชษฐวังโสจึงเสด็จกลับไปจัดเรื่องเมืองล้านช้างให้สงบ และได้เสด็จขึ้นครองราชย์ ณ อาณาจักรนั้นใน พ.ศ. ๒๐๙๑ ทรงพระนามว่า พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ไม่ยอมเสด็จกลับเชียงใหม่ปล่อยให้เจ้าไทยใหญ่ชื่อ เมกุฏิ ขึ้นครองล้านนาสืบต่อมา
พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ทรงเป็นมหาราชองค์ที่ ๒ ของลาว ( องค์แรกคือพระเจ้าฟ้างุ้ม ) ทรงเป็นวีรกษัตริย์ผู้ปรีชาสามารถในการศึกษาสงคราม และเป็นพุทธศาสนู ปถัมภกที่มีศรัทธาแรงกล้า ได้ทรงสร้างวักสำคัญหลายวัด และพระพุทธรูปสำคัญหลายองค์ ทรงส่งเสริมการศึกษาพระปริยัติธรรม ทำให้มีนักปราชญ์แต่งคัมภีร์ต่าง ๆ และมีวรรณคดีลาวเกิดขึ้นมากมายหลายเรื่อง
พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชจึงทรงผูกสัมพันธไมตรีกับกรุงศรีอยุธยาอย่างแน่นแฟ้น ถึงกับได้มีพระราชสาล์นไปขอพระเทพกษัตรี ราชธิดาของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ซึ่งประสูติแต่สมเด็จพระศรีสุริโยทัย แต่พระเทพกษัตรีถูกกองทัพพม่า ซุ่มแย่งชิงตัวในระหว่างทางและนำไปถวายแก่พระเจ้าหงสาวดี นอกจากนั้น กษัตริย์สองอาณาจักรได้ทรงสร้างเจดีย์ร่วมกัน เรียกว่า ‘พระธาตุศรีสองรัก’ อยู่ในเขตอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย มีพิธีทำบุญร่วมกันทุกปีในวันเพ็ญเดือนหก คำว่า ‘ศรี’ ในชื่อเจดีย์นั้นหมายถึง ศรีอยุธยา กับ ศรีสัตนาคนหุต
อนึ่ง ในคราวที่พระเจ้าไชยชษฐาธิราชเสด็จจากเชียงใหม่มาครองราชย์ที่เมืองเชียงทองล้านช้างนั้น ได้ทรงอัญเชิญพระแก้วมรกตซึ่งประดิษฐานอยู่ที่วัดบุบผาราม เมืองเชียงใหม่พร้อมด้วยพระพุทธรูปสำคัญอื่น ๆ และสิ่งมีค่าต่างๆ มาไว้ที่เมือองหลวงพระบางด้วย ต่อมาพระองค์ย้ายราชธานีมาอยู่ที่เมืองเวียงจันทร์ด้วย และได้ทรงสร้างพระธาตุหลวง อันเป็นสถาปัตยกรรมยอดเยี่ยมของลาวไว้เป็นเกียรติประวัติสืบมา
พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชทรงประคับประคองนำราชอาณาจักรของพระองค์ให้พ้นภัยพิบัติ ไปได้จนตลอดรัชกาล แม้ล้านนาไทยจะเสียแก่พม่าใน พ.ศ. ๒๑๐๑ และกรุงศรีอยุธยาเสียตามไปใน พ.ศ. ๒๑๐๗ แต่อาณาจักรลาวยังเป็นอิสระอยู่ อย่างไรก็ตาม หลัง จากพระองค์สวรรคตใน พ.ศ. ๒๑๑๔ แล้วพอถึง พ.ศ. ๒๑๑๗-๒๑๑๘ พระเจ้าหงสาวดีก็ยกทัพมาตีเอาลาวเป็นประเทศราชได้ และได้ทรงนำเอาโอรสองค์เดียวของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ซึ่งประสูติในปีที่สวรรคตไปไว้เป็นประกันที่หงสาวดีด้วย ต่อจากนี้ แผ่นดินลาวมีเหตุวุ่นวายด้วยเรื่องราชสมบัติอีกหลายปี จนถึง พ.ศ. ๒๑๓๔ พระเถระเจ้าอาวาสต่าง ๆ จึงได้ประชุมกันลงมติให้ส่งทูตไปอันเชิญเจ้าชายหน่อแก้วโกเมน ซึ่งเป็นตัวประกันอยู่ในราชสำนักพม่ากลับมาครองราชย์ พอดีเวลานั้นพระเจ้าบุเรงนองสวรรคตแล้ว และพม่ากำลังอ่อนแอลง จึงได้รับความยินยอมด้วยดี เจ้าหน่อแก้วโกเมนขึ้นครองราชย์ใน พ.ศ. ๒๑๓๕ และประกาศอิสรภาพ ไม่ขึ้นแก่พม่าต่อไป
ต่อมาไม่นาน แผ่นดินลาวก็มีเหตุเดือดร้อนวุ่นวายภายในเกี่ยวด้วยเรื่องราชสมบัติ จนพระเจ้าสุริยวงศา ขึ้นครองราชย์ใน พ.ศ. ๒๑๘๐ จึงกลับสงบสุขอีก พระเจ้าสุริยวงศาเป็นกษัตริย์ปรีชาสามารถและเข้มแข็ง นักประวัติศาสตร์สมัยใหม่ยกย่องว่าเป็นกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่สุดของลาว ตลอดรัชกาลอันยาวนานถึง ๕๕ ปี บ้านเมืองสงบเรียบร้อยทั้งภายในและภายนอก วัฒนธรรมรุ่งเรือง มีดนตรี สถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม การช่างต่าง ๆ เจริญแพร่หลาย และมีสัมพันธไมตรีกับอาณาจักรเพื่อนบ้านเป็นอย่างดี เว้นแต่สงครามพิชิตเชียงขวางใน พ.ศ. ๒๑๙๔ ซึ่งแม้เชียงขวางจะยอมแพ้ แต่ก็เป็นศัตรูกันต่อมาภายหลังเป็นเวลานาน จนตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศสไปด้วยกัน

ข. ยุคแตกแยกทรุดโทรมและตั้งต้นใหม่
หลังจากสิ้นราชกาลพระเจ้าสุริยวงศาใน พ.ศ. ๒๒๓๕ แล้วอาณาจักรลาวก็เดือดร้อนวุ่นวายด้วยปัญหา การแย่งชิงสมบัติจนแตกแยกออกไปเป็น ๒ อาณาจักรคือ เมืองหลวงพระบาง กับ เมืองเวียงจันทร์ นอกจากนี้ แคว้นจำปาศักดิ์ซึ่งยังมิได้เป็นดินแดนในอาณาจักรลาวโดยตรง เป็นแต่ตกอยู่ในอำนาจครอบครองเป็นครั้งคราว ก็ได้ตั้งตัวเป็นอิสระด้วย
นักประวัติศาสตร์บางพวกนับแคว้นจำปาศักดิ์อิสระนี้ เข้าอีกกล่าวว่า ลาวแตก แยกเป็น ๓ อาณาจักร ยิ่งกว่านั้นถ้าถือเอาแผ่นดินลาวปัจจุบันเป็นหลักก็ยังมีราชอาณา จักรเล็ก ๆ อีกแห่งหนึ่งซึ่งในเวลานั้นยังไม่เป็นดินแดนของลาว คือ แคว้น ตรันนินห์ ของพวกพวน มีเมืองเชียงขวางเป็นราชธานี บางทีเรียกแคว้นเชียงขวางบ้าง เมืองพวนบ้าง เมืองพวกนี้บางคราวขึ้นกับเวียงจันทร์ บางคราวขึ้นกับหลวงพระบาง บางคราวขึ้น กับญวน บางคราวขึ้นกับไทย ญวน และหลวงพระบางพร้อมกัน จนในที่สุด ตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส เมื่อลาวเป็นเอกราชแล้วจึงรวมอยู่ในราชอาณาจักรลาว
อาณาจักรทั้งสอง คือหลวงพระบางกับเวียงจันทร์ ต่างก็ระแวงกันและคอยจ้องหาโอกาสแย่งชิงอำนาจกัน เป็นเหตุให้ยืมมือต่างประเทศมากำจัดกัน เป็นการชักศึกเข้าบ้าน เช่น ฝ่ายหนึ่งเข้ากับพม่า อีกฝ่ายหนึ่งเข้ากับไทย หรือฝ่ายหนึ่งเข้ากับไทย อีกฝ่ายหนึ่งเข้ากับญวน เป็นต้น จนในที่สุดเมื่อไทยสมัยพระเจ้าตากสิน ซึ่งเป็นพันธมิตรกับหลวงพระบาง กู้เอกราชจากพม่าได้แล้ว ก็ยกทัพมาตีเวียงจันทร์ซึ่งเป็นพันธมิตรกับพม่า เข้ายึดครองได้ใน พ.ศ. ๒๓๒๑ และได้นำเอาพระแก้วมรกตไปยังอาณาจักรไทยด้วย อาณาจักรเวียงจันทร์สลายตัวลงเป็นดินแดนของไทยใน พ.ศ. ๒๓๗๑ ส่วนอาณา จักรหลวงพระบางซึ่งเป็นเมืองออกของไทยได้ส่งทูตไปอ่อนน้อมและ มอบบรรณาการแก่เวียดนามใน พ.ศ. ๒๓๗๔ กลายเป็นข้ออ้างของฝรั่งเศสผู้เข้ายึดครองเวียดนามในสมัยต่อมา ที่จะเข้าครอบครองลาวต่อไปด้วย อาณาจักรลาวได้ตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสโดยลำดับ เริ่มแต่ พ.ศ. ๒๔๓๖ จนหมดสิ้นใน พ.ศ. ๒๔๔๗ ลาวถูกฝรั่งเศสครอบครองอยู่ ๔๕ ปี จึงได้เอกราชกลับคืนอย่างสมบูรณ์เมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๔๙๒ มีชื่อเป็นทางการว่า ‘พระราชอาณาจักรลาว’


นาลันทาสมัยหลังพุทธกาล
หลังจากที่ พระบรมศาสดา ได้เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว นาลันทา ก็เสื่อมโทรมลง ทั้งความเจริญทางบ้านเมือง และทั้งนิกาย ลัทธิศาสนาต่างๆ ทั้งนี้คงจะเนื่อง มาจาก มีทุพภิกขภัยเกิดขึ้น. แม้ในขณะที่ พระพุทธองค์ ยังทรงดำรงพระชนม์ชีพอยู่ ก็ยังเคยมี ทุพภิกขภัยเกิดขึ้น เป็นครั้งคราว และสภาวะ แห่งทุพภิกขภัยนี้ ก็ไม่ทราบว่า เป็น อยู่นานเท่าใด. ครั้นมาถึง สมัยพระเจ้าอโศก ได้โปรดให้สร้างวิหารขึ้น หลังหนึ่ง ในนาลันทานี้ และต่อมา พระเจ้าปุรวรมา, ผู้สืบราชสันตติวงศ์ องค์สุดท้าย ของพระเจ้าอโศกมหาราช ก็ได้โปรดเกล้าให้สร้าง พระพุทธรูป หล่อด้วยทองแดง องค์หนึ่ง สูงถึง ๘๐ ฟุต. ครั้นถึงสมัย พระเจ้าสกราทิตยะ ราชาครองนครนาลันทา ได้ทรงสร้างวัดขึ้นวัดหนึ่ง ในสวนมะม่วง. และราชาที่สืบต่อมาก็มี พระเจ้าพุทธคุปตะ พระเจ้าตถาคตคุปตะ พระเจ้าพาลาทิยะ พระวัชระ และราชาอีกองค์หนึ่ง ที่ไม่ปรากฏพระนาม ในอินเดียสมัยกลาง กษัตริย์เหล่านี้ แต่ละพระองค์ ได้สร้างวัดขึ้น องค์ละหนึ่งวัด รวมเป็น ๖ วัด วัดทั้งหกนี้ ประกอบกันขึ้นเป็น มหาวิทยาลัยนาลันทา ในเวลาต่อไป.
มหาวิทยาลัยนาลันทา

มหาวิทยาลัยนาลันทา เริ่มสร้างขึ้นครั้งแรก ตั้งแต่สมัย พระเจ้าอโศกมหาราช แห่งราชวงศ์โมริยะ ประมาณพุทธศตวรรษที่ 3. และมีการสร้าง ติดต่อกันเรื่อยมา อีกหลายยุคหลายสมัย โดยประสงค์ จะให้เป็นสถานศึกษา แก่พระภิกษุสงฆ์ ในพระพุทธ ศาสนา. ต่อมา ก็มีการก่อสร้างส่วนอื่นๆ เพิ่มเติมขึ้นมา อีกมากมาย ตลอดระยะเวลา อันยาวไกล นับตั้งแต่พระเจ้าแผ่นดิน ในราชวงศ์คุปตะ, ราชวงศ์ปาละ และพระเจ้าแผ่นดินแห่งชวา สุมาตรา อินโดนีเซีย เป็นต้น. ราวพุทธศตวรรษที่ ๗-๘ นาคารชุน คณาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ แห่งลัทธินิกายมหายาน ได้เดินทางไป ยังปูชนียสถานสำคัญ ๆ หลายแห่ง พร้อมกับท่าน อารยเทวะ ผู้เป็นศิษย์ แล้วท่านก็ได้เดินทาง มาถึงนาลันทา.ภายในระยะเวลาเพียง ๑-๒ ศตวรรษ จากเวลา ที่ท่านนาคารชุน เดินทางมาถึงนาลันทา ต่อจากนั้น นาลันทา ก็ได้กลายเป็นศูนย์กลาง แห่ง พระพุทธศาสนา นิกายมหายาน ที่สำคัญยิ่ง ขณะนั้น มหาวิทยาลัยนาลันทา กำลังเจริญ รุ่งเรืองเต็มที่. ต่อมา ในราวพุทธศตวรรษที่ ๙ ได้เกิดคณาจารย์ที่สำคัญ ของนิกายมหายานขึ้น อีกท่านหนึ่ง นามว่า “อสังคะ” ท่านผู้นี้ เป็นผู้ประกาศหลักธรรม “ลัทธิโยคาจาร” ท่านได้ใช้ช่วงเวลา 12 ปีสุดท้าย แห่งชีวิตของท่าน ที่นาลันทาแห่งนี้ เมื่อพระภิกษุอสังคะ ได้มรณภาพลง น้องชายของท่าน มีนามว่า “ภิกษุวสุพันธ์” ผู้เป็นนักปราชญ์ คนสำคัญ แห่งลัทธิโยคาจาร ได้เป็นประธานสงฆ์ บริหารมหาวิทยาลัยนาลันทา สืบต่อมา. ในสมัยคุปตะ ซึ่งจัดเป็นยุคทอง แห่งประวัติศาสตร์ของอินเดีย ในยุคนี้ มีพัฒนาการในด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับ ชีวิต วัฒนธรรม และแนวความคิด ทางศาสนา ของอินเดีย ได้เป็นไปอย่างกว้างขวาง. หลักฐานจากศิลาจารึก ตลอดจนหลักฐาน ทางโบราณ คดี ได้เปิดเผย ให้เห็นถึง ความเจริญรุ่งเรืองสูงสุด ของพระพุทธศาสนา ในยุคนี้ แม้ว่าพระพุทธศาสนา จะไม่ได้เป็น ศาสนาทางราชการ ตลอดทั่วทุกแคว้น ในมัชฌิมประเทศ.มหาวิทยาลัยสงฆ์นาลันทาสมัยเฮียงจัง ในสมัยของหลวงจีนเฮียงจัง ราวพุทธศตวรรษที่๑๒-๑๓ นั้น, พระเจ้าหรรษวรรธนะ ทรงเป็นองค์อุปถัมภกที่สำคัญยิ่ง ของพระพุทธศาสนา พระองค์ได้ทรงทำนุบำรุง มหาวิทยาลัยนาลันทา ด้วยศรัทธาอันแก่กล้า, ทรงอุทิศส่วย จากหมู่บ้าน ๑๐๐หมู่บ้าน ให้เป็นปัจจัย บำรุงมหาวิทยาลัย และมีบัญชาให้ หัวหน้าครอบครัว ๒๐๐ครอบครัว บำรุงพระภิกษุ ที่อยู่ในมหาวิทยาลัย ด้วยภัตตาหาร เช่น ข้าว เนย และนม เป็นประจำ, โดยพระภิกษุเหล่านั้น ไม่ต้องออกไป บิณฑบาตข้างนอก. นักศึกษาแห่งนาลันทา ไม่ต้องมีความกังวล เกี่ยวกับเรื่องปัจจัยสี่นี้เลย ฉะนั้น จึงสามารถอุทิศเวลาทั้งหมด ให้แก่การศึกษา ได้เต็มที่ พระเจ้าหรรษวรรธนะ ทรงเคารพยกย่องพระภิกษุ แห่งมหาวิทยาลัย นาลันทา เป็นอย่างยิ่ง พระองค์ทรงโปรดให้ พระนักศึกษาแห่งนาลันทา ประมาณ ๑,๐๐๐ รูป เข้าร่วมรัชสภา ที่กะเนาซ์ ด้วย. หลวงจีนเฮียงจัง ได้กล่าวถึง มหาวิทยาลัยนาลันทา ไว้อย่างชัดเจน แสดงถึงความใหญ่โต และมาตรฐานการศึกษา อันสูงกว่า สถาบันการศึกษาอื่น ๆ ทั้งหมด ที่มีอยู่ในตะวันออกโบราณ. ในสมัยนั้น มหาวิทยาลัยนาลันทา เจริญรุ่งเรืองมาก เป็นมหาวิทยาลัย ที่ใหญ่ที่สุด เก่าแก่ที่สุด มีชื่อเสียงมากที่สุด มีห้องประชุมขนาดใหญ่ ซึ่งบรรจุผู้ฟัง ได้มากกว่าพันคนขึ้นไป มีถึง ๘ ห้อง, มีห้องเรียนกว่า ๓๐๐ ห้อง, มีห้องพระคัมภีร์ขนาดใหญ่ และมีหอพักนักศึกษา ในมหาวิทยาลัยพร้อม โดยมีโรงครัว ยุ้งฉาง สำหรับการหุงหาอาหาร เลี้ยงพระนักศึกษา เหล่านั้นด้วย ในมหาวิทยาลัยนาลันทาทั้งหมด มีที่พักสำหรับนักศึกษาถึง ๑๐,๐๐๐ คน พร้อมด้วย อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ อีกประมาณ ๑,๕๐๐ คน มีกฎเกณฑ์เข้มงวดมาก นักศึกษาผู้เข้าใหม่ กว่าจะถูกรับเข้าสถาบันได้ จะต้องผ่านการทดสอบมากมาย. พระนักศึกษาแห่งนาลันทา ได้รับการยกย่องอย่างสูง จากทั่วทุกแห่ง พระภิกษุที่เรียนอยู่นี้ มีพระเจ้าแผ่นดิน เป็นองค์อุปถัมภ์ การเป็นอยู่ทุกอย่าง ให้เปล่าหมด ทั้งนี้เพื่อประสงค์ที่จะให้ สืบทอดพระพุทธศาสนา ให้มีหลักธรรม ที่ลึกซึ้งและถูกต้อง ทั้งภายใน และภายนอกประเทศ ซึ่งก็ปรากฏว่า มีพระภิกษุจากต่างแดน ได้เดินทาง เข้ามาเรียนที่นี่เช่นกัน เช่น หลวงจีนเฮียง
จัง (พระถังซัมจั๋ง) เป็นต้น.
ในระยะก่อน ที่หลวงจีนเฮียงจัง จะได้เข้ามาศึกษา ในมหาวิทยาลัยนาลันทา เล็กน้อย ท่านอาจาริยะ ธัมมปาละ ได้เป็นประมุขสงฆ์ หลังจากท่านองค์นี้แล้ว ศิษย์ของท่านชื่อ อาจาริยะ ศีลภัทระ ผู้เป็นโอรส ของกษัตริย์แห่งสมตาฎ (แคว้นเบงกอลทางใต้)
เป็นอธิบดีสงฆ์ต่อมา ซึ่งท่านองค์นี้ เป็นอาจารย์สอน พุทธปรัชญา ให้แก่หลวงจีนเฮียงจัง เป็นเวลา ๕ ปี วิชาที่หลวงจีนเฮียงจัง ได้ศึกษา ในมหาวิทยาลัยนาลันทา ได้แก่ คัมภีร์พระพุทธศาสนา ทั้งหินยาน และมหายาน, เหตุวิทยา (Logic), ศัพท์วิทยา (Gramma), จิกิตสาวิทยา (Medical Sciences), พระเวทย์ทั้งหลาย และ สางขยศาสตร์ เป็นต้น.
ในการเรียนการสอน ในมหาวิทยาลัยนาลันทานั้น มีการสอนวิชาต่าง ๆมากมาย เช่น พุทธปรัชญา ไวยากรณ์ วรรณคดี แพทยศาสตร์ และมีวิชาบังคับ พระไตรปิฎก เป็นต้น หลังจากสิ้นรัชสมัยของ พระเจ้าหรรษวรรธนะแล้ว พระพุทธศาสนา ในมัชฌิมประเทศ เริ่มเสื่อมลง ๆ หลวงจีนเฮียงจังได้เล่าว่า ท่านได้เห็นศูนย์กลาง ทางพระพุทธ ศาสนา หลายแห่ง ตกอยู่ในสภาพเสื่อมโทรม แม้ในนครสาวัตถี เมืองปยาคะ และที่อื่นๆ วัดในทางพระพุทธศาสนา ได้ลดจำนวนน้อยลง แต่ในขณะเดียวกัน เทวาลัย และสถานบูชา ของพวกต่างศาสนา กลับมีจำนวนเพิ่มขึ้น, มีแต่ในแคว้นมคธ ภายใต้การอุปถัมภ์ บำรุงของกษัตริย์ ราชวงศ์ปาละ แห่งเบงกอล และพิหารเท่านั้น ที่พระพุทธศาสนา ได้เจริญรุ่งเรือง ต่อมาอีก ๒-๓ ศตวรรษ. มหาวิทยาลัยนาลันทาในสมัยปาละจนมาถึงรัชสมัย ของพระเจ้าเทวปาละ (พ.ศ.๑๓๕๘-๑๓๙๗) พาลปุตรเทวะ แห่งสุมาตรา ได้สร้างวิหารขึ้นหลังหนึ่ง ที่มหาวิทยาลัยนาลันทา และพาลปุตรเทวะ ได้ขอร้องให้กษัตริย์เทวปาละ ยกผลประโยชน์ ๕ ตำบล ในแคว้นมคธ เพื่อการบำรุงภิกษุ ที่ได้ทำการคัดลอกคัมภีร์ พระพุทธศาสนาให้ และพระเจ้าเทวปาละ ยังได้ทรงแต่งตั้ง ภิกษุรูปหนึ่งชื่อ พระวีรเทวะ ผู้เป็นบุตรของ อินทรคุปตะ แห่งรคาหาร (ขณะนี้ อยู่ในปากีสถานตะวันตก) เป็นผู้บริหาร นาลันทามหาวิหาร นอกจากนี้ เมื่อพระเจ้าเทวปาละ ครองราชย์ได้ ๓๕ ปี ได้สร้างรูปเจ้าแม่ตารา และมีการจารึกอักษร ที่ได้กล่าวถึงชื่อ มัญชุศรีเทวะเมื่อกษัตริย์โคปาละที่ ๒ ครองราชย์ในปีแรกๆ (พ.ศ.๑๔๗๘-๑๕๓๕) ได้ทรงสร้างรูปวาคีศวรี ให้เป็นเทพเจ้า แห่งความรู้ ของชาวพุทธ แล้วนำไปประดิษฐาน ไว้ที่นาลันทาในปีที่ ๖ แห่งการครองราชย์ ของกษัตริย์มปาละที่ ๑ (พ.ศ. ๑๕๓๕-๑๕๘๓) ได้มีการซ่อมแซม สถาบันนาลันทา ซึ่งได้ถูกไฟไหม้ นอกจากนี้ ยังได้มีนักศึกษา นาลันทาผู้หนึ่ง ชื่อ กัลยาณมิตร จินตามณี ได้ทำการคัดลอกคัมภีร์ อัศฏสาหัสริกา ส่วนคัมภีร์ ปรัชญาปารมิตา คัมภีร์นี้ได้ถูกคัดลอก ๒ ครั้ง ที่นาลันทา คืออีกครั้งในสมัยของรามปาละ ด้วยสมัยจักรพรรดิ แห่งวงศ์ปาละ ได้ปกครองอินเดียตะวันออก ซึ่งรวมดินแดน ของมคธด้วย เป็นเวลาประมาณ ๔๐๐ ปี (จากพุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๘) กษัตริย์เกือบทุกพระองค์ ได้เป็นผู้อุปถัมภ์ พระพุทธศาสนา อย่างเข้มแข็ง ได้ถวายความอุปการะ แก่สถาบันนาลันทา ด้วยดีตลอดมา
การล่มสลายของมหาวิทยาลัยนาลันทา
มหาวิทยาลัยนาลันทานี้ เจริญอยู่ได้ประมาณ ๘๐๐ปี จึงเริ่มเสื่อมสลายลง แม้ว่า จะกำหนดระยะเวลาที่นาลันทาได้เสื่อมสลายลงไป ให้แน่นอนไม่ได้ ก็ตาม ก็ยังมีหลักฐาน พอที่จะกล่าวว่า ความร่วงโรย ของสถาบันนาลันทานั้น ได้เกิดขึ้น พร้อมกับ การที่พระพุทธศาสนา เริ่มเสื่อมสูญ ไปจากอินเดีย หลวงจีนเฮียงจัง ได้เห็นลักษณะ ที่จะก่อ ให้เกิดความเสื่อม มีอยู่ทั่วอินเดีย แม้ว่าในครั้งนั้นนาลันทายังเป็นศูนย์กลางแห่งพระพุทธ ศาสนาที่กำลังเจริญรุ่งเรืองก็ตาม การที่นาลันทา ถูกไฟไหม้ ก่อให้เกิดความเสียหาย อย่างมากมาย หลวงจีนเฮียงจัง สามารถมองเห็น ความวิบัติ ที่จะมีแก่สถาบันนาลันทาแล้ว หลวงจีนเฮียงจังเล่าว่า เมื่อท่านมาถึงนาลันทา มีพระภิกษุ อยู่ในนาลันทาถึง ๑๐,๐๐๐ รูป แต่ต่อมา พอหลวงจีนอี้จิง มาถึงอินเดีย หลังจากท่านไม่กี่ปี ก็ได้พบว่า มีพระภิกษุในนาลันทาเพียง ๓,๐๐๐ รูป เท่านั้น ความเสื่อมโทรมลง ของพระพุทธศาสนา ทั้งในนิกายเถรวาท และมหายาน ยิ่งมากขึ้นไปอีก เมื่อได้มีการเกิดขึ้น ของนิกายตันตระ ซึ่งในนิกายนี้ ได้เอาหลักคำสอนมาจาก การผสมผสาน ของคำสอนในลัทธิโยคะ กับวิธีการบูชาบวงสรวง แบบต่างๆ หลายแบบ พระพุทธศาสนา แบบดั่งเดิม ได้ถูกกลืนหายไป ในลัทธิลึกลับ ที่เกิดขึ้นใหม่นี้ ความเสื่อมสลาย ของพระพุทธศาสนา ไปจากอินเดียนี้ อาจจะเกิดจาก นักปรัชญาผู้ยิ่ง ใหญ่ ของศาสนาพราหมณ์ เช่นท่านกุมาริละ และ ศังกราจารย์ ที่ได้ทำให้ วงการพระพุทธศาสนา สั่นสะเทือน แต่เหตุการณ์ ที่ทำลาย มหาวิทยาลัยนาลันทา อย่างรุนแรง คือการที่ พวกมุสลิมบุกรุก เข้ามาฆ่าและทำลาย มินฮัช (Minhaj) นักประวัติศาสตร์ มุสลิมได้เล่าถึง โมฮัมเม็ด บุขเตียร์ (Mohammed Bukhtiar) ทำลายเมือง ๆ หนึ่ง ในแคว้นพิหารตะวันตก ซึ่งเป็นแหล่งวิชาการ ของพระพุทธศาสนา แห่งหนึ่ง เมืองนี้ก็คือนาลันทา นั่นเอง ข้อมูลบางแหล่งว่า พวกมุสลิมซึ่งมีแม่ทัพชื่อ บักตยาร์ ขิลจิ พร้อมทหาร ๒๐๐ คน บุกเข้ามาฆ่าพระสงฆ์ องค์แล้วองค์เล่า แต่พระภิกษุสงฆ์เหล่านั้น ก็ยังคงนั่งกันเฉย ไม่ลุกหนี ไม่ต่อสู้ บางท่านเล่าถึง การบุกโจมตีนาลันทาว่า “ป้อมปราการที่นี่ ช่างน่าแปลก นักรบทุกคน ล้วนแต่นุ่งห่มสีเหลือง โกนหัวโล้น ไม่มีอาวุธในมือ นั่งกันอยู่เป็นแถวๆ เมื่อเราบุกเข้าไปถึง ก็ไม่ลุกหนี ไม่ต่อสู้ เมื่อเราเอามีดฟันคอขาด คนแล้วคนเล่า ก็ยังนั่งกันอยู่เฉยๆ ไม่ร้องขอชีวิต ไม่โอดครวญ” ตารนาถกล่าวว่า มุสลิมได้สร้างความพินาศ ย่อยยับ ให้แก่นาลันทา, โดยฆ่าพระภิกษุ อย่างเหี้ยมเกรียม บุกรุกทำลาย จุดไฟเผา จนนาลันทา กลายสภาพ เป็นเถ้าถ่านไป ในที่สุด พวกมุสลิม ยังได้เผาทำลาย ตำรับตำราต่าง ๆ ในทางพระพุทธศาสนา ในมหาวิทยาลัยนาลันทา จนหมดสิ้น กล่าวกันว่า เผาตำรับตำราอยู่ถึง ๓ เดือน จึงได้เผาหมด นอกจากนี้มุสลิม ยังเอาไฟคอกพระภิกษุ โดยหวังจะให้ตายให้หมด แต่ก็ยังมี พระส่วนน้อยที่หนีไปได้ โดยหนีเข้าไปอยู่ ในธิเบตบ้าง เนปาลบ้าง เมื่อได้ฆ่าและเผาแล้ว พวกมุสลิม ยังได้ขนเอาทรัพย์สมบัติ อันมหาศาลไปด้วย มุสลิมนั้น หวังจะทำลาย พระพุทธศาสนา ให้หมดสิ้น ไปจากอินเดีย ด้วยเหตุนี้ มหาวิทยาลัยนาลันทา อันเป็นศูนย์กลาง แห่งพระพุทธศาสนา อันเจริญรุ่งเรือง มานานแสนนาน ก็ถึงจุดจบ ด้วยน้ำมือของมุสลิม และด้วยการปฏิรูปของศาสนาพราหมณ์.







เหตุที่พระพุทธศาสนาอ่อนแอเสื่อมจากอินเดีย
การศึกษาเรื่องนี้ ยังมีหลักฐานไม่ชัดแจ้งสมบูรณ์ แต่เท่าที่ปราชญ์สันนิษฐานกันไว้ พอประมวลได้ดังนี้
๑. คณะสงฆ์อ่อนแอเสื่อมโทรมลง
พระสงฆ์แต่เดิมดำรงมั่นในศาสนปฏิบัติ มีศีลาจาวัตร รักษาระเบียบวินัย มีความเสียสละ เที่ยวจาริกไปสั่งสอนประชาชนบำเพ็ญศาสนกิจเพื่อประโยชน์แก่พหูชน คนจึงเลื่อมใสศรัทธาในพระศาสนา พระมหากษัตริย์ ขุนนาง เศรษฐี คหบดี พากันถวายความอุปถัมภ์บำรุง สร้างวัดวาอารามใหญ่โต ที่ถึงกลับกลายเป็นมหาวิทยาลัยก็มี พระสงฆ์มีความเป็นอยู่สุขสบาย ตั้งใจศึกษาปฏิบัติและอบรมสั่งสอนประชาชน ไม่ละเลยทอดทิ้งหน้าที่อันถูกต้องต่อพุทธบริษัทฝ่ายคฤหัสถ์ พระศาสนาก็รุ่งเรือง แต่ต่อมาเพราะชีวิตความเป็นอยู่ที่ได้รับการบำรุงสุขสบายนั้น ก็ติดและลุ่มหลงลืมหน้าที่ต่อประชาชน เป็นเหตุให้
- ติดถิ่นที่เพลิดเพลินในลาภสักการะและความสุขสบายนึกถึงแต่เรื่องของตนเอง และปัจจัยเครื่องอาศัยของตนเองทอดทิ้งหน้าที่ต่อประชาชน
- วุ่นวายอยู่กับพิธีกรรมและงานฉลองอันสนุกสนานต่าง ๆ จนความเข้าใจเรื่องบุญกุศลแคบลงเป็นเรื่องรับเข้าหรือเอาฝ่ายเดียว
- ศึกษาเล่าเรียนลึกซึ้งลงไปแล้ว มัวหลงเพลินกับการถกเถียงปัญหาทางปรัชญาประเภท อันตคาหิกทิฏฐิ จนลืมศาสนกิจสามัญในระหว่างพุทธบริษัทด้วยกันเอง
- มีความประพฤติปฏิบัติย่อหย่อนลง เพราะเพลิดเพลินในความสุขสบาย และแตกสามัคคีแยกเป็นพวกเป็นนิกาย เพราะถือรั้นรังเกียจกันตกลงกันไม่ได้
- เห็นแกความง่าย ตามใจตนเอง ตามใจคน ปล่อยให้เรื่องไสยศาสตร์เรื่องลึกลับอิทธิปาฏิหาริย์ต่าง ๆ พอกพูนมากขึ้น ตนเองก็เพลิดเพลิน แทนที่จะมีเหตุผลยิ่งขึ้น เข้มแข็ง มีปัญญาและพึ่งตนได้มากขึ้น ก็กลับอ่อนแอต้องคอยหวังพึ่งปัจจัยภายนอกมากยิ่งขึ้น และทำให้พระพุทธศาสนามรสภาพคล้ายคลึงกับศาสนาอื่น ๆ มากมาย เช่น ที่แปรรูปไปเป็น ตันตระ แบบเสื่อมโทรม จนเหมือนกับตันตระของฮินดู และหมดลักษณะพิเศษของตนเอง
๒. ศาสนาฮินดูต่อต้านบีบคั้น
คำสอนของพระพุทธศาสนาขัดแย้งและทำลายความเชื่อถือเดิมในศาสนาพราหมณ์มากมายหลายอย่าง เป็นเหตุให้ศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูในสมัยต่อมา พยายามหาทางลิดรอนพระพุทธศาสนาโดยวิธีต่าง ๆ ข้อที่ควรศึกษาในเรื่องนี้มีดังนี้
- พระพุทธศาสนาสอนว่าทุกคนมีความเสมอภาค ควรมีสิทธิและโอกาสเท่าเทียมกัน ไม่จำกัด วรรณะ และให้ทุกคนศึกษาเล่าเรียนในพระธรรมวินัยเหมือนกันหมด คำสอนนี้กระทบกระเทือนฐานะของพราหมณ์ทั้งหลาย ซึ่งถือว่าตนเป็นวรรณะสูงสุด มีสิทธิพิเศษต่าง ๆ และเคยผูกขาดการศึกษาไว้โดยปกติพราหมณ์เป็นคนชั้นสูง มีอำนาจและอิทธิพลมาก เช่น เป็นปุโรหิตของพระราชา เป็นต้น แต่พระพุทธศาสนาแพร่หลายในหมู่ประชาชนทั่วไป ตราบใดที่ประชาชนยังศรัทธามั่นคง พระสงฆ์ยังเป็นที่พึ่งของประชาชนและทำหน้าที่ต่อประชาชนอย่างถูกต้อง พวกพราหมณ์ก็ไม่กล้าทำอันตราย หรือทำกิจก็ไม่สำเร็จยิ่งเมื่อพระมหากษัตริย์ทรงอุปถัมภ์อยู่ด้วย พระพุทธศาสนาก็ยิ่งมั่นคง จะสังเกตเห็นได้ว่าพระมหากษัตริย์ที่เป็นพุทธมามกะทุกพระองค์ทรงให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา อุปถัมภ์ทุกๆ ศาสน เช่น พระเจ้าอโศก กนิษกะ หรรษวรรธนะ เป็นต้น แต่พราหมณ์จะไม่พอใจในการอุปถัมภ์พุทธศาสนา เช่น ปุษยมิตร ทำลายวงศ์กษัตริย์พุทธขึ้นครองราชย์ แล้วทำการพุทธศาสนา พวกพราหมณ์ข้าราชการของพระเจ้าหรรษะวรรธนะ ริษยาการทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา ถึงกับวางแผนปลงพระชนม์ เป็นต้น ในสมัยที่พราหมณ์ขึ้นเป็นกษัตริย์แม้จะไม่กล้ากำจัดพระพุทธศาสนา แต่ก็ทำให้พระพุทธศาสนาต้องยอมประนีประนอมคำสอนฮินดู จนกลายเป็นเหมือนกันและถูกกลืนไปในที่สุด
- พวกพราหมณ์ใช้ศาลศาสนาฮินดูเป็นหลักของลัทธิชาตินิยม โดยผนวกความเป็นคนอินเดียเข้ามากับความเป็นฮินดู ซึ่งจะสังเกตเห็นว่ากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดของอินเดียเป็นพุทธมามกะ และมักจะเป็นเชื้อสายชนต่างชาติ ที่เห็นชัดเจนคือ พระเจ้ากนิษกะทรงเป็นชนเชื้อสายมงโกลในเผ่ากุษาณ ชาวอินเดียที่จะกำจัดราชวงศ์กุษาณในสมัยต่อมา ใช้ลัทธิชาตินิยมเป็นเครื่องรวมกำลังและการที่กษัตริย์วงศ์นี้นับถือพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า พระพุทธศาสนาจึงถูกเพ่งเล็งในฐานะศาสนาของคนต่างชาติด้วย แม้ในเรื่องนี้พระเจ้าอโศกมหาราชก็เช่นเดียวกัน มีปราชญ์สันนิษฐานว่า เรื่องนี้พระเจ้าอโศกมหราชก็เช่นเดียวกัน มีปราชญ์สันนิษฐานว่า พระองค์มีพระมารดาเป็นชนชาติกรีก พวกพราหมณ์ได้พยายามกำจัดวงศ์นี้พร้อมทั้งพระพุทธศาสนา พระเจ้าอโศกมหาราชแม้จะเป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด แต่ไม่ปรากฏเกียรติคุณในประวัติศาสตร์ของชาวฮินดูเลย ต่อเมื่อชาวยุโรปมาขุดค้นศึกษา พระนามของพระเจ้าอโศกจึงปรากฏขึ้นมา และชาวอินเดียเองพยายามยอมรับ นอกจากนี้ แม้พระพุทธเจ้าเองก็มีผู้สันนิษฐานว่าน่าจะทรงเป็นชนเผ่ามงโกล ซึ่งย่อมไม่เป็นที่พึงพอใจของพราหมณ์
- ปราชญ์ชาวฮินดูพยายามนำเอาหลักธรรม ในพระพุทธศาสนาไปปรับปรุงหลักธรรมของตนเองให้ออกมารูปใหม่บ้าง นำไปทำตามอย่างบ้าง เพื่อ ให้มีกำลังเทียบเคียงกันได้ และให้ดูคล้ายคลึงกัน กลืนจนไม่จำว่าเป็นจะต้องมีพระพุทธศาสนาอยู่ต่างหาก และเมื่อฝ่ายพุทธศาสนาอ่อนแอก็กลืนได้ง่าย เช่น ศังกราจารย์ นำหลักธรรมในพุทธปรัชญาไปแปลงรูปเป็นปรัชญา เวทานตะของตน และสร้างวัดฮินดู ตั้งคณะนักบวชสันยาสีเลียนแบบคณะสงฆ์ เป็นต้น แม้พระพุทธเจ้าเอง ก็กลายเป็นอวตาลของพระนารายณ์ไป

๓. ชนชาติมัสลิมเข้ารุกรานและทำลาย

ในระยะที่คณะสงฆ์กำลังอ่อนแอลงนั้น ก็พอดีกองทัพชนชาติอาหรับและเตอร์กเข้ามารุกรานเป็นระลอก ๆ และทำลายพระพุทธศาสนาลงจนหมด เช่น ทำลายมหาวิทยาลัยวลภีในราว พ.ศ. ๑๓๕๐-๑๔๐๐ และทำลายหมดทุกแห่งใน พ.ศ.๑๗๐๐ เป็นต้นโดยวิธี
- ฆ่าพระสงฆ์ เช่นนาลันทา นักประวัติศาสตร์มุสลิมเองบันทึกไว้ว่าพระถูกฆ่าประมาณหมื่นรูป คือ ไม่ให้เหลือทุกแห่งเลย
- ทำลายสถาบันและสิ่งก่อสร้างโดยเผาผลาญวัดวาอารามและมหาวิทยาลัยพุทธศาสนาทุกแห่ง บางแห่งแม้แต่ซากก็ไม่ให้เหลือ
- เผาคัมภีร์และตำรับตำราพระพุทธศาสนา เช่น ที่หอสมุดของนาลันทา เผาอยู่แรมเดือน
การทำลายครั้งนี้ทำให้คณะสงฆ์สลายตัว และตั้งไม่ติดอีกเลย
ระบบของพระพุทธศาสนานั้น ดำรงอยู่ในรูปสถาบัน ซึ่งปันเป็นพุทธบริษัท ๒ ฝ่าย ปฏิบัติหน้าที่ของแต่ละฝ่ายต่อกันโดยฝ่ายพระสงฆ์เป็นผู้นำในทางจิตใจ มีความเป็นอยู่และที่อยู่ต่างหาก ชัดเจน กำจัดได้ง่าย เมื่อหมดคณะสงฆ์ หมดผู้นำ พุทธศาสนิกชน ก็ถูกบังคับบ้าง ถูกชักจูงบ้าง กลายเป็นมุสลิมหรืออินดูไป ฝ่ายฮินดูถึงจะถูกกำจัดพร้อมกัน แต่เพราะนักบวชฮินดูมีหลายแบบ บางพวกอยู่บ้านมีครอบครัว มีความเป็นอยู่ไม่ต่างจากคนทั่วไป ก็เหลือรอดอยู่ได้ง่าย ขณะนั้นหลักการทั่วไปของพระพุทธศาสนากับฮินดู คล้ายคลึงกัน หรือผสมผสานกันมากแล้ว เมื่อฝ่ายฮินดูเหลืออยู่ ก็ชักไปเข้าฮินดูโดยง่าย ไม่มีใครขัดขวาง วัดพุทธศาสนาที่หลงเหลืออยู่ก็ถูกพราหมณ์เข้าครองกลาย เป็นวัดฮินดู ชาวพุทธที่เหลือก็ถูกกลืนช้า ๆ เข้าสู่สังคมแห่งวรรณะของฮินดู
ปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า พระพุทธศาสนาไม่ได้สูญสิ้นจากอินเดีย เพราะสิ่งที่พระพุทธศาสนาสร้างขึ้นแล้วในประเทศอินเดีย ก็ยังอยู่ในประเทศอินเดีย ในรูปศิลปะ โบราณคดี วัฒนธรรมต่าง ๆ ที่ตกทอดมาจนถึงทุกวันนี้ ส่วนในด้านหลักธรรมก็เป็นเครื่องปรับปรุงขัดเกลา และเป็นแบบอย่างที่ทำให้ศาสนาฮินดูซึ่งเจริญ มาถึงปัจจุบัน กลายรูปไปในทางที่ประณีตขึ้น เช่น เลิกบูชายัญ มีหลักศีลธรรมเด่นชัดขึ้น มีหลักปรัชญาที่ลึกซึ้งขึ้นอยู่ด้วยวิธีดึงเอามาจากพระพุทธศาสนาเท่าที่เป็นประโยชน์แก่ตนเอง ดังนี้ เป็นต้น






บรรณานุกรม

ธรรมปิฎก,(ประยุทธ์ ปยุตฺโต),พระ,พระพุทธศาสนาในอาเซีย,พิมพ์ครั้งที่ ๑, ธรรมสภา
การพิมพ์, กุมภาพันธ์ ๒๕๔๐
เสถียร โพธินันทะ,ภูมิศาสตร์พระพุทธศาสนา,บรรณาคาร การพิมพ์,กรุงเทพฯ,ฉบับ
พิมพ์ พ.ศ.๒๕๑๕
เทพดิลก(ระแบบ ฐิตญาโณ),พระ,พระธรรมวินัย,พิมพ์ครั้งที่ ๒,มหามกุฏ การพิมพ์
,กรุงเทพฯ ๒๕๔๓
เสถียร โพธินันทะ,ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา,บรรณาคาร การพิมพ์,กรุงเทพฯ,ฉบับ
พิมพ์ครั้งที่ ๓ พ.ศ.๒๕๒๒
www.google.co.th

พุทธปรัชญา

พุทธปรัชญา
ที่มา : http://www.duangden.com
บทความที่ 1 พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร
สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ ทรงมีพระปรารภว่านักเรียนนักศึกษา ตลอดถึงข้าราชการผู้ที่ไปศึกษาต่อหรือไปรับราชการ ณ ต่างประเทศ ควรจะมีหนังสือแนะแนวคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนา เป็นคู่มือ สำหรับอ่านเพื่อให้เกิดความรู้เป็นแนวทางสำหรับปฏิบัติตนเอง และเพื่ออธิบายให้บรรดามิตรชาวต่างประเทศ ผู้ต้องการจะทราบเข้าใจได้ถึงหลักธรรมบางประการในพระพุทธศาสนา จึงอาราธนา พระสาสนโสภณ (สุวฑฒโน) วัดบวรนิเวศวิหาร ให้เรียบเรียงเรื่อง "พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร" ในแนวความโดยพระประสงค์ในพากษ์ภาษาไทย และทรงอาราธนาให้พระขนติปาโล (Laurence C.R.Mills) วัดบวรนิเวศวิหาร กับพระนาคเสโน วัดเบญจมบพิตร แปลเป็นภาษาอังกฤษขึ้นก่อน และโปรดให้พระยาศรีวิสารวาจา พันตำรวจโท เอ็จ ณ ป้อมเพ็ชร์ และนายจอห์น โบลแฟลด์ ตรวจแปลเรียบเรียงขึ้นอีกโดยตลอด จนเป็นที่พอพระหฤทัยในพากษ์ภาษาอังกฤษแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้จัดพิมพ์ขึ้น เนื่องในวาระดิถีวันคล้ายวันประสูติ วันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๑๐
วังสระปทุม๒๑ ตุลาคม ๒๕๑๐
เมื่อก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี ได้มีมหาบุรุษท่านหนึ่งเกิดขึ้นมาในโลก เป็นโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ และพระนางสิริมหามายา แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ สักกชนบท ซึ่งบัดนี้อยู่ในเขตประเทศเนปาล มีพระนามว่า "สิทธัตถะ" ต่อมาอีก ๓๕ ปี พระสิทธัตถะได้ตรัสรู้ธรรม ได้พระนามตามความตรัสรู้ว่า "พุทธะ" ซึ่งไทยเรียกว่า "พระพุทธเจ้า" พระองค์ได้ทรงประกาศพระธรรมที่ได้ตรัสรู้แก่ประชาชนจึงเกิดพระพุทธศาสนา (คำสั่งสอนของพระพุทธะ) และบริษัท ๔ คือ ภิกษุ (สามเณร) ภิกษุณี (สามเณรี) อุบาสก อุบาสิกาขึ้นในโลกจำเดิมแต่นั้น บัดนี้ ในเมืองไทยมีแต่ภิกษุ (สามเณร) อุบาสก อุบาสิกา ภิกษุนั้น คือชายผู้มีอายุยังไม่ครบ ๒๐ ปี หรือแม้อายุเกิน ๒๐ ปี แล้วเข้ามาถือบวช ปฏิบัติสิกขาของสามเณร อุบาสก อุบาสิกานั้นคือ คฤหัสถ์ชายหญิงผู้นับถือพระรัตนตรัยเป็นสรณะ (ที่พึ่ง) และปฏิบัติอยู่ในศีลสำหรับคฤหัสถ์ บัดนี้ มีคำเรียกชายหญิงทั้งเด็กทั้งผู้ใหญ่ ผู้ประกาศตนเป็นสรณะว่า "พุทธมามะกะ" "พุทธมามิกะ" แปลว่า "ผู้นับถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นพระของตน" พระพุทธศาสนาได้แผ่ออกจากประเทศถิ่นที่เกิดไปในประเทศต่าง ๆ ในโลก
หลักเคารพสูงสุดในพระพุทธศาสนา คือ พระรัตนตรัย (รัตนะ ๓) ได้แก่ พระพุทธเจ้า คือ พระผู้ตรัสรู้พระธรรม แล้วทรงประกาศสั่งสอนตั้งพระพุทธศาสนาขึ้น พระธรรม คือ สัจธรรม (ธรรม คือ ความจริง) ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ และได้ทรงประกาศสั่งสอนเป็นพระศาสนาขึ้น พระสงฆ์ คือ หมู่ชนผู้ได้ฟังคำสั่งสอน ได้ปฏิบัติและได้รู้ตามพระพุทธเจ้า บางพวกออกบวชตาม ได้ช่วยนำพระพุทธศาสนาและสืบต่อวงศ์การบวชมาจนถึงปัจจุบันนี้
ทุกคนผู้เข้ามานับถือพระพุทธศาสนา จะเป็นคฤหัสถ์ก็ตาม จะถือบวชก็ตาม ต้องทำกิจเบื้องต้น คือ ปฏิญาณตนถึงพระรัตนตรัยนี้เป็นสรณะ คือ ที่พึ่ง หรือดังที่เรียกว่านับถือเป็นพระของตน เทียบกับทางสกุล คือ นับถือพระพุทธเจ้าเป็นพระบิดา ผู้ให้กำเนิดชีวิตในทางจิตใจของตน พุทธศาสนิกชนย่อมสังคมกับผู้นับถือศาสนาอื่นได้ และย่อมแสดงความเคารพสิ่งเคารพในศาสนาอื่นได้ตามมรรยาทที่เหมาะสม เช่นเดียวกับแสดงความเคารพบิดาหรือมารดา หรือผู้ใหญ่ของคนอื่นได้ แต่ก็คงมีบิดาของตน ฉะนั้น จึงไม่ขาดจากความเป็นพุทธศาสนิกชนตลอดเวลาที่นับถือพระรัตนตรัยเป็นของตน เช่นเดียวกับเมื่อยังไม่ตัดบิดาของตนไปรับบิดาของเขามาเป็นบิดา ก็คงเป็นบุตรธิดาของบิดาตนอยู่ หรือ เมื่อยังไม่แปลงสัญชาติเป็นอื่น ก็คงเป็นไทยอยู่นั่นเอง ฉะนั้น พระพุทธศาสนาจึงไม่คับแคบ ผู้นับถือย่อมส่งคมกับชาวโลกต่างชาติต่างศาสนาได้สะดวก ทั้งไม่สอนให้ลบหลู่ใคร ตรงกันข้ามกลับให้ความเคารพต่อผู้ควรเคารพทั้งปวง และไม่ซ่อนเร้นหวงกันธรรมไว้โดยเฉพาะ ใครจะมาศึกษาปฏิบัติก็ได้ทั้งนั้น โดยไม่ต้องมานับถือก่อน ทั้งนี้ เพราะแสดงธรรมที่เปิดทางให้พิสูจน์ได้ว่า เป็นสัจจะ (ความจริง) ที่เป็นประโยชน์สุขแก่การดำรงชีวิตในปัจจุบัน สัจธรรมที่เป็นหลักใหญ่ในพระพุทธศาสนา คือ อริยสัจ ๔
อริยสัจ แปลว่า "สัจจะของผู้ประเสริฐ (หรือผู้เจริญ)" "สัจจะที่ผู้ประเสริฐพึงรู้" "สัจจะที่ทำให้เป็นผู้ประเสริฐ" หรือแปลรวบรัดว่า "สัจจะอย่างประเสริฐ" พึงทำความเข้าใจไว้ก่อนว่า มิใช่สัจจะตามชอบใจของโลก หรือของตนเอง แต่เป็นสัจจำทางปัญญาโดยตรง อริยสัจมี ๔ คือ
๑. ทุกข์ ได้แก่ความเกิด ความแก่ ความตาย ซึ่งมีเป็นธรรมดาของชีวิต และความโศก ความระทม ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ซึ่งมีแก่จิตใจและร่างกายเป็นครั้งคราว ความประจวบกับสิ่งที่ไม่รักไม่ชอบ ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักที่ชอบ ความปรารถนาไม่สมหวัง กล่าวโดยย่อก็คือ กายและใจนี้เองที่เป็นทุกข์ต่าง ๆ จะพูดว่า ชีวิตนี้เป็นทุกข์ต่าง ๆ ดังกล่าวก็ได้
๒. สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัณหา ความดิ้นรน ทะยานอยากของจิตใจ คือ ดิ้นรนทะยานอยาก เพื่อที่จะได้สิ่งปรารถนาอยากได้ ดิ้นรนทะยานอยากเพื่อจะเป็นอะไรต่างๆ ดิ้น
รนทะยานอยากที่จะไม่เป็นในภาวะที่ไม่ชอบต่างๆ
๓. นิโรธ ความดับทุกข์ ได้แก่ดับตัณหา ความดิ้นรนทะยานอยากดังกล่าว
๔. มรรค ทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ได้แก่ ทางมีองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ อาชีพชอบ เพียรพยายามชอบ สติชอบ ตั้งใจชอบ
ได้มีบางคนเข้าใจว่า พระพุทธศาสนามองในแง่ร้าย เพราะแสดงให้เห็นแต่ทุกข์ และสอนสูงเกินกว่าที่คนทั่วไปจะรับได้ เพราะสอนให้ดับความดิ้นรนทะยานอยากเสียหมดซึ่งจะเป็นไปได้ยาก เห็นว่าจะต้องมีผู้เข้าใจดังนี้ จึงต้องซ้อมความเข้าใจไว้ก่อนที่จะแจกอริยสัจออกไป พระพุทธศาสนามิได้มองในแง่ร้ายหรือแง่ดีทั้งสองแต่อย่างเดียว แต่มองในแง่ของสัจจะ คือความจริงซึ่งต้องใช้ปัญญาและจิตใจที่บริสุทธิ์ประกอบกันพิจารณา
ตามประวัติพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้ามิได้ทรงแสดงอริยสัจแก่ใครง่าย ๆ แต่ได้ทรงอบรมด้วยธรรมข้ออื่นจนผู้นั้นมีจิตใจบริสุทธิ์พอที่จะรับเข้าใจได้แล้ว จึงทรงแสดงอริยสัจ ธรรมข้ออื่นที่ทรงอบรมก่อนอยู่เสมอสำหรับคฤหัสถ์นั้น คือ ทรงพรรณนาทาน พรรณนาศีล พรรณนาผลของทาน ศีล ที่เรียกว่าสวรรค์ (หมายถึงความสุขสมบูรณ์ต่าง ๆ ทีเกิดจากทาน ศีล แม้ในชีวิตนี้) พรรณนาโทษของกาม (สิ่งที่ผูกใจให้รักใคร่ปรารถนา) และอานิสงส์ คือ ผลดีของการที่พรากใจออกจากกามได้ เทียบด้วยระดับการศึกษาปัจจุบัน ก็เหมือนอย่างทรงแสดงอริยสัจแก่นักศึกษาชั้นมหาวิทยาลัย ส่วนนักเรียนที่ต่ำลงมาก็ทรงแสดงธรรมข้ออื่นตามสมควรแก่วัย พระพุทธเจ้าจะไม่ทรงแสดงธรรมที่สูงกว่าระดับของผู้ฟัง ซึ่งจะไม่เกิดประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย แต่ผู้ที่มุ่งศึกษาแสวงหาความรู้ แม้จะยังปฏิบัติไม่ได้ ก็ยังเป็นทางเจริญความรู้ในสัจจะที่ตอบได้ตามเหตุผล และอาจพิจารณาผ่อนลงมาปฏิบัติทั้งที่ยังมีตัณหา คือ ความอยากดังกล่าวอยู่นั่นแหละ ทางพิจารณานั้นพึงมีได้ เช่นที่จะกล่าวเป็นแนวคิดดังนี้
๑. ทุก ๆ คนปรารถนาสุข ไม่ต้องการทุกข์ แต่ทำไมคนเราจึงต้องเป็นทุกข์ และไม่สามารถจะแก้ทุกข์ของตนเองได้ บางทียิ่งแก้ก็ยิ่งทุกข์มาก ทั้งนี้ ก็เพราะไม่รู้เหตุผลตามเป็นจริงว่า อะไรเป็นเหตุของทุกข์ อะไรเป็นเหตุของสุข ถ้าได้รู้แล้วก็จะแก้ได้ คือ ละเหตุทีให้เกิดทุกข์ ทำเหตุที่ให้เกิดสุข อุปสรรคที่สำคัญอันหนึ่งก็คือใจของตนเอง เพราะคนเราจามใจตนเองมากไป จึงต้องเกิดเดือดร้อน
๒.ที่พูดกันว่าตามใจตนนั้น โดยที่แท้ก็คือตามใจตัณหาคือความอยากของใจ ในขั้นโลก ๆ นี้ ยังไม่ต้องดับความอยากให้หมด เพราะยังต้องอาศัยความอยาก เพื่อสร้างโลก หรือสร้างตนเองให้เจริญต่อไป แต่ก็ต้องมีการควบคุมความอยากให้อยู่ในขอบเขตที่สมควร และจะต้องรู้จักอิ่มรู้จักพอในสิ่งที่ควรอิ่มควรพอ ดับตัณหาได้เพียงเท่านี้ก็พอครองชีวิตอยู่เป็นสุขในโลก ผู้ก่อไฟเผาตนเองและเผาโลกอยู่ทุกกาลสมัยก็คือ ผู้ที่ไม่ควบคุมตัณหาของใจให้อยู่ในขอบเขต ถ้าคนเรามีความอยากจะได้วิชา ก็ตั้งใจพากเพียรเรียน มีความอยากจะได้ทรัพย์ ยศ ก็ตั้งใจเพียรทำงานให้ดี ตามกำลังตามทางที่สมควร ดังนี้แล้วก็ใช้ได้ แปลว่า ปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ ในทางโลก และก็อยู่ในทางธรรมด้วย
๓. แต่คนเราต้องมีการพักผ่อน ร่างกายก็ต้องมีการพัก ต้องให้หลับ ซึ่งเป็นการพักทางร่างกาย จิตใจก็ต้องมีเวลาที่ปล่อยให้ว่าง ถ้าจิตใจยังมุ่งคิดอะไรอยู่ไม่ปล่อยความคิดนั้นแล้วก็หลับไม่ลง ผู้ที่ต้องการมีความสุขสนุกสนานจากรูป เสียงทั้งหลาย เช่น ชอบฟังดนตรีที่ไพเราะ หากจะถูกเกณฑ์ให้ต้องฟังอยู่นานเกินไป เสียงดนตรีที่ไพเราะที่ดังจ่อหูอยู่นานเกินไปนั้น จะก่อให้เกิดความทุกข์อย่างยิ่ง จะต้องการหนีไปให้พ้น ต้องการกลับไปอยู่กับสภาวะที่ปราศจากเสียง คือความสงบ จิตใจของคนเราต้องการความสงบดังนี้อยู่ทุกวัน วันหนึ่งเป็นเวลาไม่น้อย นี้คือความสงบใจ กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ ความสงบความดิ้นรนทะยานอยากของใจ ซึ่งเป็นความดับทุกข์นั่นเอง ฉะนั้น ถ้าทำความเข้าใจให้ดีว่า ความดับทุกข์ก็คือความสงบใจ ซึ่งเป็นอาหารใจที่ทุก ๆ คนต้องการอยู่ทุกวัน ก็จะค่อยเข้าใจในข้อนิโรธนี้ขึ้น
๔. ควรคิดต่อไปว่า ใจที่ไม่สงบนั้น ก็เพราะเกิดความดิ้นรนขึ้น และก็บัญชาให้ทำ พูด คิด ไปตามใจที่ดิ้นรนนั้น เมื่อปฏิบัติตามใจไปแล้วก็อาจสงบลงได้ แต่การที่ปฏิบัติไปแล้วนั้น บางทีชั่วเวลาประเดี๋ยวเดียวก็ให้เกิดทุกข์โทษอย่างมหันต์ บางทีเป็นมลทินโทษที่ทำให้เสียใจไปช้านาน คนเช่นนี้ ควรทราบว่า ท่านเรียกว่า "ทาสของตัณหา" ฉะนั้น จะมีวิธีทำอย่างไรที่จะไม่แพ้ตัณหา หรือจะเป็นนายของตัณหาในใจของตนเองได้ วิธีดังกล่าวนี้ก็คือ มรรคมีองค์ ๘ ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ คือ เห็นอริยสัจ ๔ หรือ เห็นเหตุผลตามเป็นจริง แม้โดยประการที่ผ่อนพิจารณาลงดังกล่าวมาโดยลำดับ
๒. สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ คือ ดำริ หรือคิดออกจากสิ่งที่ผูกพันให้เป็นทุกข์ ดำริในทางไม่พยาบาทมุ่งร้าย ดำริในทางไม่เบียดเบียน
๓. สัมมาวาจา วาจาชอบ แสดงในทางเว้น คือ เว้นจากพูดเท็จ เว้นจากพูดส่อเสียดให้แตกร้าวกัน เว้นจากพูดคำหยาบร้าย เว้นจากพูดเพ้อเจ้อไม่เป็นประโยชน์
๔. สัมมากัมมันตะ การงานชอบ แสดงในทางเว้น คือ เว้นจากการฆ่า การทรมาน เว้นจากการลัก เว้นจากการประพฤติผิดในทางกาม
๕. สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตชอบ คือ เว้นจากมิจฉาอาชีวะ (อาชีพผิด) สำเร็จชีวิตด้วยอาชีพที่ชอบ
๖. สัมมาวายามะ เพียรพยามยามชอบ คือ เพียรระวังบาปที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว เพียรทำกุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วมิให้เสื่อม แต่ให้เจริญยิ่งขึ้น
๗. สัมมาสติ ระลึกชอบ คือ ระลึกไปในที่จั้งของสติที่ดีทั้งหลาย เช่น ในสติปัฏฐาน ๔ คือ กาย เวทนา จิต ธรรม
๘. สัมมาสมาธิ ตั้งใจชอบ คือ ทั้งใจให้เป็นสมาธิ (ตั้งมั่นแน่วแน่) ในเรื่องที่ตั้งใจจะทำในทางที่ชอบ
มรรคมีองค์ ๘ นี้ เป็นทางเดียว แต่มีองค์ประกอบเป็น ๘ และย่อลงได้ในสิกขา (ข้อที่พึงศึกษาปฏิบัติ) คือ
สีลสิกขา สิกขาศีลคือศีล ได้แก่ วาจาชอบ การงานชอบ อาชีพชอบ พูดโดยทั่วไป จะพูดจะทำอะไรก็ให้ถูกชอบ อย่าให้ผิด จะประกอบอาชีพอะไรก็เช่นเดียวกัน ถ้ายังไม่มีอาชีพ เช่น เป็นนักเรียนต้องอาศัยท่านผู้ใหญ่อุปการะ ก็ให้ใช้ทรัพย์ที่ท่านให้มาตามส่วนที่ควรใช้ ไม่ใช้อย่างสุรุ่ยสุร่ายเหลวแหลก ศึกษาควบคุมตนเองให้งดเว้นจากความคิดที่จะประพฤติตนที่จะเลี้ยงเพื่อนไปในทางที่ผิด ที่ไม่สมควร
จิตตสิกขา สิกขาคือจิต ได้แก่ เพียรพยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจชอบ พูดโยทั่วไป เรื่องของจิตเป็นเรื่องสำคัญ ต้องพยายามศึกษาฝึกฝน เพราะอาจฝึกได้โดยไม่ยากด้วย แต่ขอให้เริ่ม เช่นเริ่มฝึกตั้งความเพียร ฝึกให้ระลึกจดจำ และระลึกถึงเรื่องที่เป็นประโยชน์ และให้ตั้งใจแน่วแน่ สิกขาข้อนี้ ใช้ในการเรียนได้เป็นอย่างดี เพราะการเรียนจะต้องมีความเพียร ความระลึก ความตั้งใจ
ปัญญาสิกขา สิกขาคือปัญญา ได้แก่ เห็นชอบ ดำริชอบ พูดโดยทั่วไป มนุษย์เจริญขึ้นก็ด้วยปัญญาที่พิจารณา และลงความเห็นในทางที่ถูกที่ชอบ ดำริชอบ ก็คือพิจารณาโดยชอบ เห็นชอบ ก็คือลงความเห็นที่ถูกต้อง นักเรียนผู้ศึกษาวิชาต่าง ๆ ก็มุ่งให้ได้ปัญญาสำหรับที่จะพินิจพิจารณาและลงความเห็นโดยความถูกชอบ ตามหลักแห่งเหตุผลตามเป็นจริง และโดยเฉพาะควรอบรมปัญญาในไตรลักษณ์ และปฏิบัติพรหมวิหาร ๔
“ ไตรลักษณ์ ”
หมายถึง ลักษณะที่ทั่วไป ไดแก่ สังขารทั้งปวง คือ อนิจจะ ทุกขะ อนัตตา
อนิจจ ไม่เที่ยง คือ ไม่ดำรงอยู่เป็นนิตย์นิรันดร์ เพราะเมื่อเกิดมาแล้วก็ต้องดับในที่สุด ทุก ๆ สิ่งจึงมีหรือเป็นอะไรขึ้นมาแล้ว ก็กลับไม่มี เป็นสิ่งที่ดำรงอยู่ชั่วคราว
ทุกขะ ทนอยู่คงที่ไม่ได้ ต้องเปลี่ยนแปลงไปอยู่เสมอ เหมือนอย่างถูกบีบคั้นให้ทรุดโทรมเก่าแก่ไปอยู่เรื่อย ๆ ทุก ๆ คนผู้เป็นเจ้าของสิ่งเช่นนี้ ก็ต้องทนทุกข์เดือดร้อนไม่สบายไป
ด้วย เช่นไม่สบายเพราะร่างกายป่วยเจ็บ
อนัตตา ไม่ใช่อัตตา คือ ไม่ใช่ตัวตน อนัตตานี้ ขออธิบายเป็นลำดับชั้นสามชั้นดังต่อไปนี้
๑. ไม่ยึดมั่นกับตนเกินไป เพราะถ้ายึดมั่นกับตนเกินไป ก็ทำให้เป็นคนเห็นแก่ตัวฝ่ายเดียว หรือทำให้หลงตน ลืมตน มีอคติ คือลำเอียงเข้ากับตน ทำให้ไม่รู้จักตนตามเป็นจริง เช่นคิดว่า ตนเป็นฝ่ายถูก ตนต้องได้สิ่งนั้นสิ่งนี้ ด้วยความยึดมั่นตนเองเกินไป แต่ตามที่เป็นจริงหาได้เป็นเช่นนั้นไม่
๒. บังคับให้สิ่งต่าง ๆ รวมทั้งร่างกายและจิตใจไม่ให้เปลี่ยนแปลงตามความต้องการไม่ได้ เช่นบังคับให้เป็นหนุ่มสาวสวยงามอยู่เสมอไม่ได้ บังคับให้ภาวะของจิตใจชุ่มชื่นว่องไวอยู่เสมอไม่ได้
๓. สำหรับผู้ที่ได้ปฏิบัติไปได้จนถึงขั้นสูงสุด เห็นสิ่งต่าง ๆ รวมทั้งร่างกายและจิตใจเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตนทั้งสิ้นแล้ว ตัวตนจะไม่มี ตามพระพุทธภาษิตที่แปลว่า "ตนย่อมไม่มีแก่ตน" แต่ก็ยังมีผู้ซึ่งไม่ยึดมั่นอะไรในโลก ผู้รู้นี้เมื่อยังมีชีวิตอยู่ก็สามารถปฏิบัติสิ่งต่าง ๆ ให้เป็นไปตามสมควรแก่สถานที่และสิ่งแวดล้อม โดยเที่ยงธรรมล้วน ๆ (ไม่มีกิเลสเจือปน)
“ พรหมวิหาร ๔ ” คือ ธรรมสำหรับเป็นที่อาศัยอยู่ของจิตใจที่ดี มี ๔ ข้อ ดังต่อไปนี้
๑. เมตตา ความรักที่จะให้เป็นสุข ตรงกันข้ามกับความเกลียดที่จะให้เป็นทุกข์ เมตตาเป็นเครื่องปลูกอัธยาศัยเออารี ทำให้มีความหนักแน่นในอารมณ์ ไม่ร้อนวู่วาม เป็นเหตุให้เกิดความรู้สึกเป็นมิตร ไม่เป็นศัตรู ไม่เบียดเบียนใคร แม้สัตว์เล็กเพียงไหน ให้เดือดร้อนทรมานด้วยความเกลียด โกรธ หรือสนุกก็ตาม
๒. กรุณา ความสงสารจะช่วยให้พ้นทุกข์ ตรงกันข้ามกับความเบียดเบียน เป็นเครื่องปลูกอาศัยเผื่อแผ่เจือจาน ช่วยผู้ที่ประสบทุกข์ยากต่าง ๆ กรุณานี้เป็นพระคุณสำคัญข้อหนึ่งของพระพุทธเจ้า เป็นพระคุณสำคัญข้อหนึ่งของพระมหากษัตริย์ และเป็นคุณสำคัญของท่านผู้มีคุณทั้งหลาย มีมารดาบิดา เป็นต้น
๓. มุทิตา ความพลอยยินดีในความได้ดีของผู้อื่น ตรงกันข้ามกับความริษยาในความดีของเขา เป็นเครื่องปลูกอัธยาศัยส่งเสริมความดี ความสุข ความเจริญ ของกันและกัน
๔. อุเบกขา ความวางใจเป็นกลาง ในเวลาที่ความวางใจดังนั้น เช่นในเวลาที่ผู้อื่นถึงความวิบัติ ก็วางใจเป็นกลาง ไม่ดีใจว่าศัตรูถึงความวิบัติ ไม่เสียใจว่าคนที่รักถึงความวิบัติ ด้วยพิจารณาในทางกรรมว่า ทุก ๆ คนมีกรรมเป็นของตน ต้องเป็นทายาทรับผลของกรรมที่ตนได้ทำไว้เอง ความเพ่งเล็งถึงกรรมเป็นสำคัญดังนี้ จนวางใจลงในกรรมได้ ย่อมเป็นเหตุถอนความเพ่งเล็งบุคคลเป็นสำคัญ นี้แหละเรียกว่า อุเบกขา เป็นเหตุปลูกอัธยาศัยให้เพ่งเล็งถึงความผิดถูกชั่วดีเป็นข้อสำคัญ ทำให้เป็นคนมีใจยุติธรรมในเรื่องทั่ว ๆ ไปด้วย
ธรรม ๔ ข้อนี้ ควรอบรมให้มีในจิตใจด้วยวิธีคิดแผ่ใจ ประกอบด้วยเมตตาเป็นต้น ออกไปในบุคคลและสัตว์ทั้งหลาย โดยเจาะจง และโดยไม่เจาะจงคือทั่วไป เมื่อหัดคิดอยู่บ่อย ๆ จิตใจก็จะอยู่กับธรรมเหล่านี้บ่อยเข้าแทนความเกลียด โกรธเป็นต้นที่ตรงกันข้าม จนถึงเป็นอัธยาศัยขึ้น ก็จะมีความสุขมาก
“ นิพพานเป็นบรมสุข ”
ได้มีสุภาษิตกล่าวไว้ แปลว่า "นิพพานเป็นบรมสุข คือ สุขอย่างยิ่ง" นิพพาน คือความละตัณหา ในทางโลกและทางธรรมทั้งหมด ปฏิบัติโดยไม่มีตัณหาทั้งหมด คือ การปฏิบัติถึงนิพพาน
ได้มีผู้กราบทูลพระพุทธเจ้าว่า "ธรรม" (ตลอดถึง "นิพพาน" ที่ว่า "เป็นสันทิฏฐิโก อันบุคคลเห็นเอง" นั้น อย่างไร? ได้มีพระพุทธดำรัสตอบโดยความว่าอย่างนี้ คือ ผู้ที่มีจิตถูกราคะ โทสะ โมหะ ครอบงำเสียแล้ว ย่อมเกิดเจตนาความคิดเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง ผู้อื่นบ้าง ทั้งสองฝ่ายบ้าง ต้องได้รับทุกข์โทมนัสแม้ทางใจ เมื่อเกิดเจตนาขึ้นดังนั้น ก็ทำให้ประพฤติทุจริตทางไตรทวาร คือ กาย วาจา ใจ และคนเช่นนั้นย่อมไม่รู้ประโยชน์ตนเองประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์ทั้งสองตามเป็นจริง แต่ว่าเมื่อละความชอบ ความชัง ความหลงเสียได้ ไม่มีเจตนาความคิดที่จะเบียดเบียนตนและผู้อื่นทั้งสองฝ่าย ไม่ประพฤติทุจิตทางไตรทวาร รู้ประโยชน์ตนประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์ทั้งสองตามเป็นจริง ไม่ต้องเป็นทุกข์โทมนัสแม้ด้วยใจ "ธรรม (ตลอดถึง) นิพพาน" ที่ว่า "เห็นเอง" คือเห็นอย่างนี้ ตามที่ตรัสอธิบายนี้ เห็นธรรมคือ เห็นภาวะหรือสภาพแห่งจิตใจของตนเอง ทั้งในทางไม่ดีทั้งในทางดี จิตใจเป็นอย่างไรก็ให้รู้อย่างนั้นตามเป็นจริง ดังนี้เรียกว่า เห็นธรรม ถ้ามีคำถามว่า จะได้ประโยชน์อย่างไร? ก็ตอบได้ว่า ได้ความดับทางใจ คือ จิตใจที่ร้อนรุ่มด้วยความโลภ โกรธ หลงนั้น เพราะมุ่งออกไปข้างนอก หากได้นำใจกลับเข้ามาดูใจเองแล้ว สิ่งที่ร้อนจะสงบเอง และให้สังเกตจับตัวความสงบนั้นให้ได้ จับไว้ให้อยู่ เห็นความสงบดังนี้ คือ เห็นนิพพาน วิธีเห็นธรรม เห็นนิพพาน ตามที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสอธิบายไว้ จึงเป็นวิธีธรรมดาที่คนธรรมดาทั่ว ๆ ไปปฏิบัติได้ ตั้งแต่ขั้นธรรมดาต่ำ ตลอดถึงขั้นสูงสุด
อริยสัจ ไตรลักษณ์ และนิพพาน "เป็นสัจธรรม" ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ และได้ทรงแสดงสั่งสอน (ดังแสดงในปฐมเทศนาและในธรรมนิยาม) เรียกได้ว่าเป็น "ธรรมสัจจะ" สัจจะทางธรรมเป็นวิสัยที่พึงรู้ได้ด้วยปัญญา อันเป็นทางพ้นทุกข์ในพระพุทธศาสนา แต่ทางพระพุทธศาสนา ก็ได้แสดงธรรมในอีกหลักหนึ่งคู่กันไป คือ ตาม "โลกสัจจะ" สัจจะทางโลก" คือแสดงในทางมีตน มีของตน เพราะโดยสัจจะทางธรรมที่เด็ดขาดย่อมเป็นอนัตตา แต่โดยสัจจะทางโลกย่อมมีอัตตา ดังที่ตรัสว่า "ตนแลเป็นที่พึ่งของตน" ในเรื่องนี้ได้ตรัสไว้ว่า "เพราะประกอบเครื่องรถเข้า เสียงว่ารถย่อมมีฉันใด เพราะขันธ์ทั้งหลายมีอยู่ สัตว์ย่อมมีฉันนั้น" ธรรมในส่วนโลกสัจจะ เช่น ธรรมที่เกี่ยวแก่การปฏิบัติในสังคมมนุษย์ เช่น ทิศหก แม้ศีลกับวินัยบัญญัติทั้งหลายก็เช่นเดียวกัน ฉะนั้น แม้จะปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ทางจิตใจตามหลักธรรมสัจจะ ส่วนทางกายและทางสังคม ก็ต้องปฏิบัติอยู่ในธรรมตามโลกสัจจะ ยกตัวอย่างเช่น บัดนี้ตนอยู่ในภาวะอันใด เช่น เป็นบุตรธิดา เป็นนักเรียน เป็นต้น ก็พึงปฏิบัติธรรมตามควรแก่ภาวะของตน และความพยายามศึกษานำธรรมมาใช้ปฏิบัติขึ้นทุก ๆ วัน ในการเรียน ในการทำงาน และในการอื่น ๆ เห็นว่า ผู้ปฏิบัติดังนี้จะเห็นเองว่า ธรรมมีประโยชน์อย่างยิ่งแก่ชีวิตอย่างแท้จริง.
(คัดลอกจาก "หนังสือพระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร" จัดพิมพ์ขึ้นเนื่องในวาระดิถีวันคล้ายวันประสูติของสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ เมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๑๐)


บทความที่ 2 อริยสัจ๔
หลักธรรมในพระพุทธศาสนานั้นมีมากถึง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ซึ่งหลักธรรมที่ครอบคลุมคำสอนทั้งหมดในพระพุทธศาสนา นั่นคือ “อริยสัจ ๔” หรือ “ธัมมจักกัปปวัตตสูตร” อันเป็นหลักธรรมที่นำหลักความจริงของชีวิตมนุษย์ขึ้นมาพิจารณา โดยหยิบยกประเด็นปัญหาให้เห็นและหาหนทางแก้ไขปัญหา เพื่อพุทธศาสนิกชนทุกคนจะได้จัดการกับชีวิตตนได้อย่างถูกต้องตามวิธีการแห่งปัญญา ตามหลักฐานในพระไตรปิฎกได้กล่าวถึง “อริยสัจ ๔” ความว่า
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่ง ๔ อย่างนี้ เป็นของจริงแท้ ไม่แปรผัน ไม่เป็นอย่างอื่น สิ่ง ๔ อย่างเป็นไฉน ? สิ่งนี้ว่านี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ทางให้ถึงความดับทุกข์ เป็นของจริงแท้ ไม่แปรผัน ไม่เป็น อย่างอื่น สิ่ง ๔ อย่างนี้ เป็นของจริงแท้ ไม่แปรผัน ไม่เป็นอย่างอื่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.” (พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ๑๙/๑๖๙๗/๒๔๖)
“อริยสัจ ๔” คือ ความจริงอันประเสริฐ หรือความจริงของพระอริยะ หรือความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะ (พระเทพเวที, ๒๕๓๕: ๑๘๑.) ซึ่งความจริงเหล่านี้เป็นผลจากการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ที่ทรงนำมาเปิดเผยแก่โลก ซึ่งเป็นธรรมที่เปิดทางให้พุทธศาสนิกชนได้
พบสัจจะ หรือความจริงที่เป็นประโยชน์สุขแก่การดำเนินชีวิตในปัจจุบัน
พุทธพจน์จากปฐมเทศนา หรือธรรมจักรกัปปวัตนสูตร พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรมแห่งอริยสัจ ๔ ความว่า
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจนี้แล คือ ความเกิดก็เป็นทุกข์ ความแก่ก็เป็นทุกข์ ความเจ็บก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์ ความประจวบด้วยสิ่งอันไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้ข้อนั้นก็เป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ก็ทุกขสมุทยอริยสัจนี้แล คือ ตัณหาอันทำให้มีภพใหม่ ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ความเพลิดเพลินยิ่งนักในอารมณ์นั้นๆ ได้แก่ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ก็ทุกขนิโรธอริยสัจนี้แล คือ ความดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือแห่งตัณหา นั้นแหละความสละ ความวาง ความปล่อย ความไม่อาลัย ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้แล คือ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ซึ่งได้แก่สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ.” (พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ๑๙/๑๖๖๕/๔๒๖.)
อริยสัจ ๔ ประการนั้น คือ
(๑.) ทุกข์ แปลว่า ความทุกข์ หรือสภาพที่ทนได้ยาก ได้แก่ ปัญหาต่าง ๆ ของมนุษย์ กล่าวให้ลึกลงไปอีกหมายถึง สภาวะของสิ่งทั้งหลายที่ตกอยู่ในกฎธรรมดาแห่งความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ซึ่งประกอบด้วยภาวะบีบคั้น กดดัน ขัดแย้ง มีความบกพร่อง ไม่สมบูรณ์ในตัวเอง ขาดแก่นสารและความเที่ยงแท้ ไม่อาจให้ความพึงพอใจเต็มอิ่มแท้จริง ไม่อาจให้ความพึงพอใจเต็มอิ่มแท้จริง พร้อมที่จะก่อปัญหา สร้างความทุกข์ขึ้นมาได้เสมอ ทั้งที่เกิดเป็นปัญหาขึ้นแล้ว และอาจเกิดเป็นปัญหาขึ้นมา เมื่อใดเมื่อหนึ่ง ในรูปใดรูปหนึ่งแก่ผู้ที่ยึดติดถือมั่นไว้ด้วยอุปาทาน
(๒.) ทุกขสมุทัย เรียกสั้น ๆ ว่า สมุทัย แปลว่า เหตุเกิดแห่งทุกข์ หรือสาเหตุให้ทุกข์เกิดขึ้น ได้แก่ ความอยากที่ยึดถือเอาตนเป็นที่ตั้ง โดยอาการที่มีเราซึ่งจะเสพเสวย ที่จะได้ จะเป็น จะไม่เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ทำให้ชีวิตถูกบีบคั้นด้วยความเร่าร้อน ร่านรน กระวนกระวาย ความหวงแหน เกลียดชัง หวั่นกลัว หวาดระแวง ความเบื่อหน่าย หรือความคับข้องติดขัดในรูปใดรูปหนึ่งอยู่ตลอดเวลา ไม่อาจปลอดโปร่งโล่งเบา เป็นอิสระ สดชื่น เบิกบานได้อย่างบริสุทธิ์สิ้นเชิง ไม่รู้จักความสุขชนิดที่เรียกว่าไร้ไฝฝ้า และไม่อืดเฟ้อ
(๓.) ทุกขนิโรธ เรียกสั้น ๆ ว่า นิโรธ แปลว่า ความดับทุกข์ ได้แก่ ภาวะที่เข้าถึง เมื่อกำจัดอวิชชา สำรอกตัณหาสิ้นแล้ว ไม่ถูกตัณหาย้อมใจหรือฉุดลากไป ไม่ถูกบีบคั้นด้วยความรู้สึกกระวนกระวาย ความเบื่อหน่าย หรือความคับข้องติดขัดอย่างใด ๆ หลุดพ้นเป็นอิสระ ประสบความสุขที่บริสุทธิ์ สงบ ปลอดโปร่งโล่งเบา ผ่องใส เบิกบาน เรียกสั้น ๆ ว่า นิพพาน
(๔.) ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เรียกสั้น ๆ ว่า มรรค (มรรค มีชื่อเต็มว่า อริยอัฏฐังคิกมรรค แปลว่า ทางมีองค์ ๘ ประการอันประเสริฐ, ทางมีองค์ ๘ ของพระอริยะ, ทางมีองค์ ๘ ที่ทำให้คนเป็นพระอริยะ, ทางมีองค์ ๘ ที่พระอริยะคือพระพุทธเจ้าทรงค้นพบ หรือมรรคาอันประเสริฐมีองค์ประกอบ ๘ อย่าง สามารถเรียกอย่างสั้นได้ว่า “มรรคมีองค์ ๘”) แปลว่า ปฏิปทา (ข้อปฏิบัติ วิธีปฏิบัติ หนทาง วิธีการ) ที่นำไปสู่ความดับทุกข์ หรือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ได้แก่ อริยอัฏฐังคิกมรรค หรือทางประเสริฐมีครบองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา เพราะเป็นทางสายกลาง ซึ่งดำเนินไปพอดีที่จะให้ถึงนิโรธ โดยไม่ติดข้องหรือเอียงไปหาที่สุดสองอย่าง คือ กามสุขัลลิกานุโยค (ความหมกมุ่นในกามสุข) และอัตตกิลมถานุโยค (การประกอบความลำบากแก่ตน คือ บีบคั้นทรมานตนเองให้เดือนร้อน) (พระธรรมปิฎก, ๒๕๔๑: ๘๙๖-๗)
“มัชฌิมาปฏิปทา” หรือ “มรรค” คือ ทางสายกลางที่นับเป็นประมวลหลักความประพฤติปฏิบัติ หรือระบบจริยธรรมทั้งหมดในพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นคำสอนภาคปฏิบัติ ที่จะช่วยให้พุทธศาสนิกชนดำเนินสู่จุดหมายตามแนวทางของกระบวนการแห่งธรรม นับเป็นวิธีการใช้กฎเกณฑ์แห่งกระบวนการของธรรมชาติให้เกิดประโยชน์แก่ชีวิตอย่างสูงสุด
พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงวิธีดำเนินชีวิตให้บรรลุถึงความดับทุกข์และทรงเรียกปฏิปทานั้นว่า "มัชฌิมาปฏิปทา" แปลว่า ทางปฏิบัติมีในท่ามกลาง หรือ ทางสายกลาง หมายถึงทางปฏิบัติ วิธีการ หรือทางดำเนินชีวิตที่เป็นกลาง ๆ ตามธรรมชาติ หรือสอดคล้องกับธรรมชาติ พอเหมาะพอดีที่จะให้เกิดผลตามกระบวนการดับทุกข์ของธรรมชาติ ดังนั้น "มัชฌิมาปฏิปทา" ก็คืออริยสัจข้อสุดท้ายหรือ “มรรค” ซึ่งมัชฌิมาปฏิปทานี้เป็นทางสายกลาง ที่อยู่ระหว่างความสุดโต่งของทางสายที่หย่อนเกินไป (กามสุขัลลิกานุโยค) และทางสายที่ตึงเกินไป (อัตตกิลมถานุโยค)
“ทางสายกลาง” หมายความว่า จุดหมายหรือหลักที่แน่ชัด อันนำไปสู่จุดหมายนั้นเพื่อให้บังเกิดผลตามเป้าหมาย ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงเรียกหนทางนั้นว่า “ทางสายกลาง” อนึ่ง ด้วยเหตุที่ “ทางสายกลาง” นั้นเป็นทางที่มีจุดหมายที่แน่ชัด หรือความเป็นทางสายกลางขึ้นอยู่กับความมีเป้าหมายที่แน่ชัดของแต่ละปัจเจกบุคคล ดังนั้น ผู้ปฏิบัติจึงต้องรู้จุดหมายปลายทางของตนเสียก่อนจึงจะเดินทางได้
ด้วยเหตุนี้ ทางสายกลางจึงเป็นทางแห่งปัญญา ที่เริ่มต้นด้วยความเข้าใจในปัญหาของตนและรู้จุดหมายที่จะเดินทางไป โดยนัยนี้ทางสายกลางจึงเป็นทางแห่งความรู้และความมีเหตุผล เป็นทางแห่งการรู้ เข้าใจ ยอมรับ และกล้าเผชิญหน้ากับความจริง เมื่อมนุษย์มีความรู้ความเข้าใจและกล้าเผชิญหน้ากับความจริงของโลกและชีวิต หรือสามารถดำเนินวิถีชีวิตให้ถูกต้องดีงามได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องหวังพึ่งพิงอำนาจศักดิ์สิทธิ์ที่ดลบรรดาล จากสิ่งที่ไม่สามารถจับต้องหรือมองไม่เห็น และเมื่อมนุษย์มีความมั่นใจในตนเอง โดยอาศัยทางแห่งปัญญาเช่นนี้แล้ว มนุษย์ก็จะไม่หวาดกลัวกับสิ่งที่อยู่นอกเหนือวิสัยของมนุษย์ ซึ่งท่าทีแห่งความมั่นใจเช่นนี้นับเป็นลักษณะประการหนึ่งของทางสายกลาง


มรรค มีองค์ ๘
หากพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่าง “หัวใจพระพุทธศาสนา” กับ “อริยสัจ ๔” แล้วสามารถกล่าวได้ว่า “พระโอวาทปาฏิโมกข์” หรือ “พุทธโอวาท ๓” อันเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งพระองค์ได้สรุปคำสอนทางพระพุทธศาสนาเพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจของพุทธศาสนิกชน นั่นคือ การไม่ทำความชั่วทั้งปวง การบำเพ็ญความดีให้เพียบพร้อม และการทำจิตของตนให้ผ่องใส ซึ่งสิ่งเหล่านี้ เป็นหัวใจพระพุทธศาสนา ที่ล้วนแต่เป็นทางไปสู่จุดหมายของพระพุทธศาสนา นั่นคือความไม่มีทุกข์และเมื่อพิจารณาต่อไปว่า “พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร?” คำตอบคือ “อริยสัจ ๔” อันเป็นสิ่งที่พุทธศาสนิกชนต้องไตร่ตรองดัวยปัญญา จึงจะค้นพบว่าจุดบรรจบกันระหว่าง “พุทธโอวาท ๓” กับ “อริยสัจ ๔” คือ ความไม่มีทุกข์ ซึ่งความไม่ทุกข์ก็คือความสุขนั่นเอง ดังนั้น หลักปฏิบัติในการดับทุกข์ตามแนวทางของ “มรรค ๘” จึงได้รวมเข้าเป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อให้พุทธศาสนิกชนเข้าใจได้ง่ายขึ้น แต่มีบางคนเข้าใจว่า คำสอนเรื่อง “อริยสัจ ๔” เป็นการมองโลกในแง่ร้าย เพราะแสดงให้เห็นแต่ทุกข์ คือ “ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค” ล้วนชี้ให้เห็นว่าเป็นทุกข์ทั้งสิ้น แต่พึงสังเกตว่า ในท้ายที่สุดอริยสัจ ๔ ได้ชี้แง่ดีไว้ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติบรรลุความสุขอย่างแท้จริง นั่นคือ มรรคมีองค์ ๘
พุทธพจน์ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ของพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงความหมาย เนื้อหา และจุดหมายของมัชฌิมาปฏิปทา ความว่า
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นไฉน นี้คือมรรคมีองค์ ๘ อันประเสริฐ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ก็สัมมาทิฏฐิเป็นไฉน ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกข-นิโรธคามินีปฏิปทา อันนี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ ฯ สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน ความดำริในการออกจากกาม ความดำริใน ความไม่พยาบาท ความดำริในอันไม่เบียดเบียน อันนี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ ฯ สัมมาวาจา เป็นไฉน การงดเว้นจากการพูดเท็จ งดเว้นจากการพูดส่อเสียด งดเว้นจากการพูดคำหยาบ งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ อันนี้เรียกว่า สัมมาวาจา ฯ สัมมากัมมันตะ เป็นไฉน การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ งดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เขามิได้ให้ งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม อันนี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ ฯ สัมมาอาชีวะ เป็นไฉน อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ละการเลี้ยงชีพที่ผิดเสีย สำเร็จการเลี้ยงชีพด้วยการเลี้ยงชีพที่ชอบ อันนี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ ฯ สัมมาวายามะ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เกิดฉันทะพยายามปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อมิให้อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้ว เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อความตั้งอยู่ไม่เลือนหาย เจริญยิ่ง ไพบูลย์ มีขึ้น เต็มเปี่ยมแห่งกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว อันนี้เรียกว่า สัมมาวายามะ ฯ สัมมาสติ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้ อันนี้เรียกว่า สัมมาสติ ฯ สัมมาสมาธิ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ อันนี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ ฯ”
(พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค ๑๐/๒๙๙/๒๓๑-๒.)
หลักมัชฌิมาปฏิปทานี้ สามารถนำมาใช้ได้กับกิจกรรมทุกประเภทของมนุษย์ในชีวิตประจำวัน โดยมีความมุ่งหมายเพื่อแก้ปัญหา กำจัดทุกข์เพื่อช่วยให้มนุษย์บรรลุความดีงาม ซึ่งการปฏิบัติดีและปฏิบัติชอบนั้น มนุษย์ต้องเข้าใจในจุดหมายของตนเอง ซึ่งนับเป็นการกระทำด้วยปัญญา หรือมีสัมมาทิฏฐิ จึงนับว่าเป็นการดำเนินตามแนวทางของมัชฌิมาปฏิปทา แต่ในบางครั้งการปฏิบัติของมนุษย์นั้นผิดพลาดคลาดเคลื่อน เพราะดำเนินไปด้วยความไม่รู้หรือเข้าใจในจุดมุ่งหมายในการแสวงหาความอุดมแห่งชีวิต ซึ่งการปฏิบัติที่ผิดพลาดเหล่านี้มักถูกนำมาใช้อ้างเพื่อใช้ในการบำรุงปรนเปรอความอยากของตน หรือแสวงหาผลประโยชน์อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ดังนั้น มนุษย์จึงควรปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับกระบวนการของธรรมชาติเพื่อความสมบูรณ์แห่งชีวิต.
บรรณานุกรม
กรมการศาสนา. (๒๕๒๕). พระไตรปิฎกฉบับหลวง เล่มที่ ๑-๔๕. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา.
เทพเวที, พระ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (๒๕๓๕). พจนานุกรมพุทธศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ ๗). กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.ธรรมปิฎก.
ธรรมปิฎก, พระ (ป.อ.ปยุตฺโต). (๒๕๔๑). พุทธธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ ๘). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
________. (๒๕๔๓). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ ๙). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
มหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์. (๒๕๓๗). พระสูตร และอรรถกถา, แปล. (พิมพ์ครั้งที่ ๓). กรุงเทพฯ. (มหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ พิมพ์เนื่องในโอกาสครบ ๒๐๐ ปี แห่งพระราชวงศ์จักรี กรุงรัตนโกสินทร์ พุทธศักราช ๒๕๒๕).
เมธีธรรมาภรณ์, พระ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (๒๕๓๕). พุทธศาสนากับปรัชญา. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
ราชบัณฑิตยสถาน. (๒๕๓๙). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (พิมพ์ครั้งที่ ๖). กรุงเทพฯ: บริษัท อักษรเจริญทัศน์ จำกัด.
ราชบัณฑิตยสถาน. (๒๕๔๐). พจนานุกรมศัพท์ปรัชญา อังกฤษ - ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน.
เลขาธิการนายกรัฐมนตรี, สำนัก. สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์แห่งชาติ. (๒๕๓๙). คำถาม-คำตอบเกี่ยวกับพุทธศาสนา เล่ม ๑-๒. กรุงเทพฯ.
สมพงษ์ จิวะนนท์. พุทธศาสนิก. (๒๕๓๗). พิมพ์ครั้งที่ ๖. กรุงเทพฯ : สารมวลชน.
สุชีพ ปุญญานุภาพ. (๒๕๓๙). พระไตรปิฎก ฉบับสำหรับประชาชน. (พิมพ์ครั้งที่ ๑๖). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์.


บทความที่ 3 เกณฑ์ตัดสินพุทธจริยธรรม
ต่อไปนี้จะเป็นการศึกษาปัญหาเกณฑ์ตัดสินพุทธจริยธรรม คือ ปัญหาที่ว่า การกระทำที่มีคุณค่าทางจริยะที่ว่า การกระทำที่เรียกว่า ดี ถูก ผิด หรือควร ไม่ควร เป็นอย่างไร และมีอะไรเป็นเกณฑ์ในการตัดสินในการกระทำนั้นว่า ดี ถูก ผิด หรือควร ไม่ควร
หลักจริยธรรมในระบบพุทธจริยศาสตร์นั้น เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่ามี ๒ อย่างคือ สัจธรรม และศีลธรรม สัจธรรมเป็นอันติมสัจจะ กล่าวคือ เป็นความจริงสูงสุดอันเป็นฐานรองรับหลักศีลธรรม และหลักจริยธรรม หรือการกระทำอันมีค่าทางพุทธจริยศาสตร์ที่ดำเนินไปถึงเพื่อเข้าถึงเป้าหมายอันเป็นอันติมสัจจะนั้น เป็นสิ่งที่มีอยู่เอง มีอยู่อย่างเที่ยงแท้ และสามารถดำรงอยู่ได้โดยธรรมดา ถ้ามนุษย์ไม่มีเป้าหมายในการกระทำ ก็ไม่สามารถกล่าวได้ว่า การกระทำใดถูก หรือผิด เพราะฉะนั้น เกณฑ์ในการตัดสินค่าจริยะว่า สิ่งนี้ถูก ผิด ควร ไม่ควร จึงต้องอาศัยเป้าหมายเป็นแนว ในขั้นนี้ ผู้วิจัยจะศึกษาวิเคราะห์ปัญหาที่ว่า มาตรการวัดและตัดสินคุณค่าทางจริยะเหล่านี้ ในทางพุทธจริยศาสตร์คืออะไร และมีอะไรบ้าง นี้เป็นปัญหาที่จะต้องศึกษาต่อไป
ในพระพุทธศาสนากล่าวการกระทำของมนุษย์ไว้ ๓ ทางคือ ทางกาย เรียกว่า กายกรรม ทางวาจา เรียกว่า วจีกรรม และทางใจ เรียกว่า มโนกรรม การกระทำจะดีหรือชั่วอยู่ที่ ๓ ทางนี้ ถ้าการกระทำนั้นเป็นฝ่ายดีทางกาย ทางวาจา และทางใจ เรียกว่า กายสุจริต วจีสุจริตและมโนสุจริต กรรมฝ่ายดีนี้ เรียกว่า กุศลกรรม แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าเป็นการกระทำในฝ่ายชั่วทางทวารทั้ง ๓ นี้ เรียกว่า กายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต กรรมฝ่ายชั่วทั้ง ๓ นี้เรียกว่า อกุศลกรรม ส่วนปัญหาที่ว่า การกระทำของมนุษย์นั้น จะดีหรือชั่ว ใช้อะไรเป็นเกณฑ์วัด เป็นปัญหาที่จะต้องพิจารณากันต่อไป
ตามแนวพุทธจริยศาสตร์นั้น ให้ถือเจตนาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินว่า การกระทำใด ดี หรือชั่ว ถูก หรือผิด เพราะการกระทำทั้งหมดของมนุษย์มีเจตนาเป็นตัวคอยบ่งชี้ เพราะฉะนั้นเจตนาจึงเป็นตัวแท้ของกรรม"บุคคลคิดแล้วจึงกระทำ กรรมด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ" (องฺ.ฉกฺก.๒๒/๓๓๔/๓๖๕)
เค.เอ็น. ชยติลเลเก (๒๕๓๔: ๓๖) ได้ให้ทัศนะในปัญหานี้ว่า
พระพุทธศาสนาถือว่า การกระทำที่ถูกต้องและผิดนั้นจะต้องเป็นการ กระทำที่เป็นไปอย่างเสรี แต่เป็นเสรีภาพที่เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กับกฎของเหตุผล ตามทัศนะของพระพุทธศาสนา มีเงื่อนไขที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้การกระทำที่ถูกแตกต่างจากการกระทำที่ผิด นั่นคือแรงจูงใจและความตั้งใจหรือเจตนาที่บุคคลมีต่อการกระทำๆ
โดยนัยนี้ กล่าวได้ว่า พระพุทธศาสนา เชื่อว่า มนุษย์มีเจตจำนงเสรีในการกระทำ ซึ่งเป็นเจตจำนงเสรีที่ความสัมพันธ์กันในเหตุผลเชิงจริยธรรม เพราะถ้ามนุษย์ไม่มีเจตน์จำนงเสรีในการกระทำ ก็จะไม่มีความชั่ว ถูก ผิด ควร หรือไม่ควร การกระทำก็เป็นแต่สักว่า ทำแล้ว กำลังทำ หรือทำอยู่เท่านั้น แต่มนุษย์มีเจตจำนงเสรีในการกระทำ และการกระทำทุกอย่างย่อมประกอบด้วยความจงใจหรือเจตนาเสมอ เพราะฉะนั้น ด้วยการกระทำที่ประกอบด้วยเจตนาหรือความจงใจนี้เอง พระพุทธศาสนาจึงกล่าวว่า ถ้าประกอบด้วยกุศล ก็จัดเป็นกุศลกรรม ถ้าประกอบด้วยอกุศล จัดว่าเป็นอกุศลกรรม ดังพุทธพจน์ว่า
กรรมที่ถูกโลภะครอบงำ...กรรมที่ถูกโทสะครอบงำ...กรรมที่ถูกโมหะครอบงำ เกิดแต่โมหะ มีโมหะเป็นเหตุ มีโมหะเป็นแดนเกิด ย่อมให้ผลในที่ที่เกิดอัตภาพของเขา กรรมนั้นให้ผลในขันธ์ใด ในขันธ์นั้น เขาจะต้องเสวยวิบากของกรรมนั้น ในลำดับที่เกิดหรือต่อ ๆ ไปในปัจจุบันนั่นเอง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติ ๓ประการนี้แล เป็นเหตุให้เกิดกรรม ๓ ประการเป็นไฉน คือ อโลภะ ๑ อโทสะ ๑อโมหะ ๑...กรรมที่ถูกอโลภะครอบงำ...กรรมที่ถูกอโทสะครอบงำ... กรรมที่ถูกอโมหะครอบงำ เกิดแต่ อโมหะมีอโมหะเป็นเหตุ มีอโมหะเป็นแดนเกิด เมื่อโมหะปราศไปแล้ว ย่อมเป็นอันบุคคลละได้เด็ดขาด ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วนทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา...ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติ ๓ประการนี้แลเป็นเหตุให้เกิดกรรม ฯ (องฺ.ติก.๒๐/๔๗๓/๑๒๘)
จึงกล่าวได้ว่า ตามหลักพุทธจริยศาสตร์ เจตนาที่ประกอบด้วยด้วยความพยายามในการกระทำอันเป็นเหตุเบื้องต้น หรือเป็นความพยายามเพื่อให้การกระทำสำเร็จลงเป็นเกณฑ์ตัดสินคุณค่าเชิงพุทธจริยธรรม ดังพุทธพจน์ที่ว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลายเรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม บุคคลคิดแล้วจึงกระทำกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา (องฺ.ฉกฺก.๒๒/๓๔/๓๕๖)

บทความที่ 4 พุทธจริยธรรมเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่
การดำรงตนอยู่ในสังคมนั้น บุคคลหนึ่งจะต้องมีบทบาทหน้าที่หลายๆ อย่าง ถ้าขาดหลักการปฏิบัติในการทำบทบาทหน้าที่เหล่านั้นแล้ว ก็จะเกิดความสับสนในบทบาทหน้าที่เหล่านั้นได้ พระพุทธองค์จึงได้บัญญัติข้อปฏิบัติในการปฏิบัติตนตามบทบาทหน้าที่ในสังคมไว้ดังต่อไปนี้ (ที.ปา. ๑๑/๑๙๘/๑๙๖)
๑. ฐานะลูก ซึ่งมีบทบาทหน้าที่เมื่อเป็นลูกอย่างนี้ คือ
๑.๑ ช่วยทำธุระของพ่อแม่๑.๒ ประพฤติตัวดี ควรแก่การที่พ่อแม่จะมอบความไว้วางใจ๑.๓ สร้างและรักษาชื่อเสียงของวงศ์ตระกูลไว้๑.๔ เลี้ยงดูท่านด้วยความกตัญญูกตเวที๑.๕ เมื่อท่านเสียชีวิตแล้วบำเพ็ญกุศลอุทิศส่วนบุญไปให้
๒. ฐานะพ่อแม่ มีบทบาทและหน้าที่เมื่อเป็นพ่อแม่ดังนี้
๒.๑ รักษาลูกไม่ให้ทำความชั่ว๒.๒ ส่งเสริมให้ลูกทำความดี๒.๓ ให้การศึกษา๒.๔ หาคู่ครองที่ดีให้๒.๕ มอบทรัพย์มรดกให้เมื่อถึงเวลาอันสมควร
๓. ฐานะศิษย์ มีบทบาทและหน้าที่เมื่อเป็นศิษย์ดังนี้
๓.๑ มีความเคารพนับถือครูอาจารย์๓.๒ เชื่อฟังครูอาจารย์๓.๓ มีความกตัญญูกตเวทีต่อครูอาจารย์๓.๔ ช่วยทำกิจธุระของครูอาจารย์๓.๕ เรียนศิลปะวิทยาด้วยความตั้งใจ
๔. ฐานะครู มีบทบาทและหน้าที่เมื่อเป็นครูดังนี้
๔.๑ แนะนำศิษย์อย่างดี ด้วยเจตนาดี๔.๒ สอนอย่างดี ด้วยความตั้งใจ ยึดประโยชน์ของศิษย์เป็นที่ตั้ง๔.๓ สอนวิทยาการให้สิ้นเชิง ไม่ปิดบัง๔.๔ ยากย่องให้ปรากฏในเพื่อนฝูง๔.๕ ช่วยเหลือศิษย์ไม่ให้มีอันตรายและให้มีความสุข
๕. ฐานะคู่ชีวิต คือสามีภรรยา มีบทบาทและหน้าที่ดังนี้คือ
๕.๑ บทบาทหน้าที่ของสามีต่อภรรยา ๕.๑.๑ ยกย่องว่าเป็นภรรยา ๕.๑.๒ ไม่ดูหมิ่นเหยียดหยาม ๕.๑.๓ ไม่ประพฤตินอกใจ ๕.๑.๔ มอบความเป็นใหญ่ในบ้านให้ ๕.๑.๕ ให้เครื่องประดับเครื่องแต่งกาย๕.๒ บทบาทหน้าที่ของภรรยาต่อสามี ๕.๒.๑ จัดการงานในบ้านเรียบร้อยดี ๕.๒.๒ สงเคราะห์คนข้างเคียงสามีดี ๕.๒.๓ ไม่นอกใจสามี ๕.๒.๔ รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้ ๕.๒.๕ มีความขยัน
๖. ฐานะเพื่อน มีบทบาทหน้าที่ ดังนี้คือ
๖.๑ หน้ามิตรบำรุงมิตร ๖.๑.๑ ช่วยเหลือเพื่อน ๖.๑.๒ เจรจาถ้อยคำไพเราะ ๖.๑. ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์ ๖.๑.๔ เป็นผู้วางตนเสมอ ๖.๑.๕ ไม่แกล้งกล่าวให้คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง๖.๒ หน้าที่มิตรอนุเคราะห์มิตร ๖.๒.๑ รักษาเพื่อนผู้มีความประมาทแล้ว ๖.๒.๒ รักษาทรัพย์ของเพื่อนผู้ประมาทแล้ว ๖.๒.๓ เมื่อมีภัย เป็นที่พึ่งได้ ๖.๒.๔ นับถือวงศ์ญาติของเพื่อน
๗. ฐานะนายและทาสกรรมกร
๗.๑ หน้าที่นายจ้างบำรุงบ่าวไพร่ ๗.๑.๑ จัดงานให้ทำตามสามควรแก่กำลัง ๗.๑.๒ ให้อาหารและรางวัล ๗.๑.๓ รักษาพยาบาลในเวลาเจ็บไข้ ๗.๑.๔ ให้รางวัลพิเศษเมื่อทำงานได้ดี ๗.๑.๕ ให้ลูกจ้างได้พักตามกาลอันสมควร๗.๒ หน้าที่บ่าวไพร่อนุเคราะห์นาย ๗.๒.๑ ลุกขึ้นทำงานก่อนนาย ๗.๒.๒ เลิกการงานที่หลังนาย ๗.๒.๓ ถือเอาแต่ของที่นายให้ ๗.๒.๔ ทำงานให้ดีขึ้น ๗.๒.๕ นำคุณของนายไปสรรเสริญให้ที่นั้นๆ
๘. บทบาทหน้าที่สำหรับผู้ปกครอง หมายถึง บุคคลที่สังคมยกย่องให้เป็นผู้นำนั้นต้องประกอบด้วยคุณธรรมอันนำมาซึ่งความสงบสุข และนำสมาชิกของสังคมไปสู่ความเจริญ รุ่งเรือง พระพุทธศาสนาได้กล่าวถึงหลักธรรมสำหรับนักปกครองไว้ว่า ทศพิพิธราชธรรม หมายถึง ธรรมของพระราชา หรือกิจวัตรที่นักปกครองต้องประพฤติปฏิบัติ มี ๑๐ ประการ คือ (ขุ.ชา.๒๘/๒๔๐/๖๒)
๘.๑ ทาน การให้ คือการสละทรัพย์สิ่งของบำรุงเลี้ยงช่วยเหลือประชาราษฎร์ และบำเพ็ญสาธารณประโยชน์
๘.๒ ศีล ความประพฤติดีงาม คือ สำรวมกายกายทวาร และวจีทวาร ประกอบแต่การกระทำที่สุจริต รักษากิตติคุณ และเป็นที่เคารพของนับถือของประชาราษฎร์ มิให้มีข้อที่ใครจะดูแคลนได้
๘.๓ ปริจจาค การบริจาค คือเสียสละความสุขสำราญ เป็นต้น ตลอดจนชีวิตของตน เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน และความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง
๘.๔ อาชชวะ ความซื่อตรง คือ ซื่อตรงต่อหน้าที่ ปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ โดยสุจริต มีความจริงใจ ไม่หลอกลวงประชาชน
๘.๕ มัททวะ ความอ่อนโยน คือ มีอัธยาศัยไม่เย่อหยิ่งหยาบคาย หรือถือตัว มีความงามอันเกิดจากกิริยามารยาทสุภาพนุ่มนวล ละมุนละไม ให้ได้ความรักภักดี และความยำเกรง
๘.๖ ตปะ ความทรงเดช คือ กำจัดกิเลสตัณหา ไม่ให้เข้ามาครอบงำจิตใจ ข่มใจได้ ไม่ยอมให้หลงใหลหมกมุ่นในความสุขสำราญอันเกิดจากความปรนเปรอ มีความมุ่งมั่นในการบำเพ็ญเพียร ทำกิจให้สมบูรณ์
๘.๗ อักโกธะ ความไม่โกรธ คือ ไม่กริ้วกราด ลุแก่อำนาจโทสะ จะเป็นเหตุให้เกิดการกระทำผิดพลาด มีเมตตาประจำใจเสมอ วินิจฉัยความแลการกระทำต่าง ๆ อันประกอบด้วยธรรม
๘.๘ อวิหิงสา ความไม่เบียดเบียน คือ ไม่กดขี่บีบคั้นประชาชน เช่น การขูดรีดเก็บภาษี หรือเกณฑ์แรงงานเกินขนาด ไม่หลงระเริงอำนาจจนขาดความเมตตากรุณา
๘.๙ ขันติ ความอดทน คือ อดทนต่องานที่ตรากตรำ ถึงจะลำบายกายเพียงใด ก็ไม่เกิดความย่อท้อ ถึงแม้จะถูกเย้ยหยันด้วยคำเสียดสีอย่างไร ก็ไม่หมดกำลังใจ ไม่ยอมละทิ้งกรณียกิจที่บำเพ็ญโดยชอบธรรม
๘.๑๐ อวิโรธนะ ความไม่คลาดจากธรรม คือวางตนเป็นหลักในธรรม ไม่มีความเอนเอียงเพราะถ้อยคำที่ดีหรือร้อย ไม่เห็นแก่ลาภสักการะ หรืออิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ใดๆ ตั้งมั่นในหลักธรรมทั้งในส่วนของความยุติธรรม คือ ความเที่ยงธรรม นิติธรรม คือ ระเบียบแบบแผนหลักการปกครอง ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม ไม่ประพฤติให้คลาดเคลื่อนจนเกิดความเสียหายไป
พุทธจริยธรรมเกี่ยวกับการแก้ปัญหา
ปัญหาหรือความทุกข์ที่เกิดขึ้นแก่มนุษย์โดยทั่วไป มักเกิดขึ้นมาจากความทะยานอยาก หรือความพอใจอยากได้จนเกินประมาณ คือ อยากได้ในกามคุณเพื่อนสนองความความต้องการทางประสาทสัมผัสทั้ง ๕ ความอยากที่จะมีอยู่คงอยู่ตลอดไป และความอยากที่จะพ้นจากสภาพที่ไม่พึงปรารถนา อยากทำลายหรือดับสูญ รวมความแล้วได้แก่ตัณหา ๓ คือ กามตัณหาภวตัณหา วิภวตัณหา (องฺ.ฉกฺก. ๒๒/๓๗๗/๓๙๘)
วิธีการแก้ปัญหาต่าง ๆ นั้น ต้องรู้ถึงสาเหตุของปัญหาและแก้ไขตามสาเหตุอย่างถูกต้อง และวิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด คือ การแก้ปัญหาตามหลักอริยสัจ อันเป็นพื้นฐานเพื่อให้สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ได้อยากถูกต้อง เพราะในชีวิตประจำวันของมนุษย์เรานั้นต้องมีการตัดสินใจอยู่ตลอดเวลา นั่นคือต้องมีการเผชิญกับปัญหาต่างๆ และต้องตัดสินใจเสมอ และอริยสัจ นี้ก็เป็นหลักธรรมที่ทำให้ผู้เข้าถึงสามารถเป็นผู้ประเสริฐได้
๑. อริยสัจจ์ ๔ คือ ความจริงอันประเสริฐ หรือความจริงของพระอริยเจ้า
๑.๑ ทุกข์ หมายถึงความไม่สบายกายไม่สบายใจ เป็นสภาพที่ทนได้ยาก เป็นสภาวะบีบคั้น ขัดแย้งขัดข้อง มีความบกพร่องไม่สมบูรณ์ในตัวเอง ได้แก่ ชาติ ชรา มรณะ ซึ่งเป็นสภาวะปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันหรือสภาพปัญหาอาจจะเกิดขึ้นในอนาคตแก่ผู้ที่ยึดมั่นด้วยอำนาจอุปาทาน ทั้งนี้เพราะปัจจัยต่าง ๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นสิ่งที่มีสภาพเป็นไตรลักษณ์ คือสภาวะที่ไม่มีความยั่งยืน มีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ไม่สามารถยึดถือเป็นแก่นสารได้
๑.๒ สมุทัย เหตุที่ทำให้เกิดความทุกข์ อันได้แก่ ตัณหา ๓ ประการอันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ คือ (๑) กามตัณหา ความทะยานอยากในกามคุณ ที่เป็นสิ่งสนองความต้องการทางประสาทสัมผัสทั้ง ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ (๒) ภวตัณหา ความทะยานอยากในภาวะที่ตนกำลังเป็นอยู่นี้ตลอดไป หรือความอยากที่จะไปสู่ภาวะอย่างใดอย่างหนึ่งที่คิดได้ (๓) วิภวตัณหา ความทะยานอยากในเราที่พ้นไปเสียจากภาวะอยากจะหลีกเลี่ยงสิ่งที่ไม่พอใจจากสิ่งที่ตนกำลังได้รับ หรือไม่อยากพบภาวะที่ตนไม่ชอบใจในอนาคต แต่เนื่องจากความเป็นไปในโลกนี้มิได้เป็นไปตามความอยาก แต่เป็นไปตามกฎของไตรลักษณ์ จึงทำให้ประสบกับความทุกข์
๑.๓ นิโรธ ความดับทุกข์ ภาวะที่ตัณหาดันสิ้นไป ภาวะที่เข้าถึงเมื่อกำจัดอวิชชา และสำรอกตัณหาได้แล้ว ปราศจากความดิ้นรนทางใจเพื่อแสวงหาความเป็นอิสระจากทุกข์ทั้งปวง คงเหลือแต่ความปรุงแต่งทางกายตามสภาพธรรมชาติ
๑.๔ มรรค ข้อปฏิบัติที่ให้ทำให้ผู้ปฏิบัติเข้าสู่ภาวะนิโรธ คือความดับทุกข์ ได้แก่การปฏิบัติตาม มรรคมีองค์ ๘(อภิ.วิ. ๓๕/๑๔๔/๙๓)อริยสัจ ๔ ประการนี้ เป็นแนวทางการปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นซึ่งได้แก่ ทุกข์ แล้วพิจารณาหาเหตุของทุกข์เพื่อแก้ปัญหา คือ สมุทัย เมื่อหาสาเหตุแห่งทุกข์ได้แล้ว ต้องหาวิธีแก้ทุกข์ หรือหาวิธีการเพื่อให้พ้นจากสภาพไม่พึงประสงค์ด้วยวิธีการต่าง ๆ คือนิโรธ แล้วจึงปฏิบัติตามแนวทางเพื่อให้ดับทุกข์คือ นิโรธคามินีปฏิปทา อันได้แก่การดำเนินทางตามแนว มรรคมีองค์ ๘ หรือทางสายกลาง
๒. สัปปุริสธรรม คือ ธรรมของสัตบุรุษ ๗ ประการ คือ
๒.๑ ธัมมัญญุตา ความเป็นผู้จักธรรม หมายถึง รู้หลักความจริง รู้หลักการ รู้หลักเกณฑ์ รู้กฎธรรมชาติแห่งสรรพสิ่ง หรือรู้เหตุ รู้หลักการที่จะทำให้เกิดผล เช่น รู้ว่าอะไรเป็นเหตุให้ทำชั่ว อะไรเป็นหลักเกณฑ์แห่งความดี เป็นต้น
๒.๒ อัตถัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักอรรถ หมายถึง รู้ความหมาย รู้จุดมุ่งหมายหรือจุดประสงค์ที่เกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ เช่น รู้หลักธรรมหรือภาษิตนั้นๆ มีความหมายอย่างไร มีความมุ่งหมายอะไร เมื่อปฏิบัติตามแล้วจะเกิดผลดีหรือผลเสียอย่างไร เป็นต้น
๒.๓ อัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักตน คือรู้จักตนเองโดยฐานะ ภาวะ เพศ วัย ความรู้ ความสามารถ และคุณธรรมอื่นๆ มีศรัทธา ศีล สุตตะ จาคะ ปัญญา เป็นต้น แล้วประพฤติตนให้เหมาะสมแก่ภาวะของตน และเมื่อรู้ว่า บกพร่องในเรื่องใด ก็ปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น
๒.๔ มัตตัญญุตา ความเป็นผู้รักประมาณ คือ รู้จักความพอดี ความพอเหมาะสม ในการดำรงชีวิต เช่น การรู้จักประมาณในบริโภคอาหาร การรู้จักประมาณในการใช้จ่ายทรัพย์ที่หามาได้ รู้จักประมาณในการทำงานเป็นต้น
๒.๕ กาลัญญุตา ความเป็นผู้รูจักกาล คือรู้จักเวลาว่า เวลาไหนควร ไม่ควรทำอะไร การงานใด จะต้องใช้เวลาเท่าไร แล้วทำให้ตรงต่อเวลา ให้เป็นเวลา
๒.๖ ปุริสัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักบริษัท คือรู้จักชุมชนและสังคม รู้กริยาที่จะพึงประพฤติ แล้วประพฤติตนให้เหมาสมต่อชุมชนและสังคมนั้นๆ
๒.๗ ปุคคลปโรรัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักเลือกคบบุคคล คือ รู้จักบุคคลที่ยิ่งหย่อนกว่ากัน รู้ความแตกต่างแห่งบุคคลนั้นๆ ว่า ใคร ผู้ใด มีอัธยาศัย หรือไม่ดี มีค่ำนิยมอย่างไร เป็นต้น (องฺ.สตฺตก.๒๓/๖๕/๙๑)
๓. สันโดษ คือ ความยินดี ความพอใจ ความรู้จักเพียงพอด้วยปัจจัย ๔ ที่ตนหามาได้ด้วยเรี่ยวแรงความเพียรโดยชอบธรรม เพราะมนุษย์โดยทั่วไปจะเกิดความพึงพอใจในแสวงหา ในการบริโภคอย่างมาก เพราะฉะนั้น ความพอใจดังกล่าวนี้ ไม่ใช่หลักการตัดสินอรรถประโยชน์ ถ้าความพอใจไม่ได้มากับการพัฒนาคุณภาพชีวิต ก็อาจจะเป็นตัวการในการทำลายอรรถประโยชน์ได้ เช่น ทำให้หลงมัวเมา เสียคุณภาพชีวิต เป็นต้น ๔ ประการ คือ
๓.๑ ยถาลาภสันโดษ ยินดีตามที่ได้ คือได้สิ่งใดมา หรือเพียรหาสิ่งใดมาได้ และสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ตนปรารถนา ไม่ว่าจะหยาบหรือประณีตเพียงใด ก็ยินดีพอใจด้วยสิ่งนั้น ไม่ติดใจอยากได้สิ่งอื่น ไม่เดือดร้อนกระวนกระวายในสิ่งที่ตนไม่ได้ ไม่ปรารถนาสิ่งที่ตนได้หรือเกินไปกว่าที่ตนพึงได้โดยถูกต้อง ไม่เพ่งอยากได้ของที่คนอื่นไม่ได้ให้
๓.๒ ยถาพลสันโดษ ยินดีตามกำลัง คือยินดีแต่พอกำลังร่างกายสุขภาพและวิสัยแห่งการใช้สอยของตน ไม่อยากได้เกินกำลัง หรือเมื่อได้มาแล้วไม่สามารถจะใช้กับกำลังร่างกายหรือสุขภาพได้ ก็ไม่หวงแหน ย่อมจะสละให้กับผู้อื่นได้
๓.๓ ยถาสารุปปสันโดษ ยินดีตามสมควร คือ ยินดีตามที่เหมาะสมกับตน อันสมควรแก่ภาวะ ฐานะ แนวทางการดำเนินชีวิต และจุดมุ่งหมายการบำเพ็ญกิจของตน (ม.อ.๒/๑๘๘; องฺ.อ.๑/๘๑)
พุทธจริยธรรมเกี่ยวกับการปฏิบัติตนเพื่อการดำรงชีวิตที่ดี
มนุษย์จะประสบความสำเร็จในชีวิตได้นั้น จะต้องมีหลักจริยธรรมในการครองชีวิตในปัจจุบัน ในพุทธจริยธรรม ได้สอนหลักเพื่อการดำรงชีวิตที่ดี ประเสริฐ ดี งาม และสงบไว้มาก ดังนั้น ผู้วิจัยจะกล่าวเฉพาะที่มีปรากฏอยู่ในบทเพลงเท่านั้น
๑. มงคล ๓๘ ประการ หมายถึงหลักการดำเนินชีวิต หลักความประพฤติ ๓๘ ประการ เพื่อก่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าอย่างสมบูรณ์แบบ ซึ่งพระพุทธเจ้าได้วางหลักไว้ เริ่มตั้งแต่การดำเนินชีวิตขั้นต้น จนถึงขั้นสูงสุด คือ ตั้งแต่โลกิยธรรม จนถึงโลกุตรธรรม หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ เริ่มจากการดำเนินชีวิตจากสิ่งง่ายๆ ไปสู่สิ่งที่ยากที่สุด ครอบคลุมหลักจริยธรรม ในการดำเนินชีวิตด้านต่าง ๆ ซึ่งเป็นพื้นฐานให้เกิดคุณธรรมตั้งแต่เบื้องตนจนถึงขั้นสูงสุด คือ จิตที่ปราศจากกิเลส มีดังนี้
(๑) ไม่คบคนพาล (๒) คบบัณฑิต (๓) บูชาผู้ควรบูชา (๔) อยู่ในประเทศอันสมควร (๕) เคยทำบุญไว้ในชาติก่อน (๖) ตั้งตนไว้ชอบ (๗) สดับตรับฟังมาก (๘) การรู้ศิลปะ (๙) ศึกษาวินัยดี (๑๐) วาจาเป็นสุภาษิต (๑๑) บำรุงบิดามารดา (๑๒) สงเคราะห์บุตร (๑๓) สงเคราะห์ภรรยาโดยสมควร (๑๔) การงานไม่อากูล (๑๕) ให้ทาน (๑๖) ประพฤติธรรม (๑๗) สงเคราะห์ญาติ (๑๘) การงานไม่มีโทษ (๑๙) การงดเว้นจากบาป (๒๐) สำรวมจากการดื่มน้ำเมา (๒๑) ความไม่ประมาทในธรรม (๒๒) ความเคารพ (๒๓) ความอ่อนน้อมถ่อมตน (๒๔) ความสันโดษ (๒๕) ความกตัญญู (๒๖) การฟังธรรมตาลกาล (๒๗) ความอดทน (๒๘) ความเป็นคนว่านอนสอนง่าย (๒๙) การไดเห็นสมณะ (๓๐)การสนทนาธรรมตามกาล (๓๑) มีตบ ความเพียร (๓๒) ประพฤติพรหมจรรย์ (๓๓) เห็นอริยสัจ ๔ (๓๔) การทำแจ้งซึ่งพระนิพพาน (๓๕) จิตไม่หวั่นไหวในกิเลส (๓๖) จิตไม่เศร้าโศก (๓๗) จิตปราศจากธุลีไร้กิเลส (๓๘)จิตเกษม ปราศจากอกุศลมูล (ขุ.ธ. ๒๕/๖/๓)
มงคลชีวิต ๓๘ ประการ เป็นหลักจริยธรรมสำหรับการดำรงชีวิตเพื่อการดำเนินชีวิตให้ประสบความเจริญก้าวหน้า ซึ่งค่านิยมด้านต่าง ๆ ในมงคล ๓๘ ประการ ได้แก่ เรื่อง ทาน ศีล ความกตัญญู ความมีวินัย เรื่องการปฏิบัติหน้าที่ระหว่างบุคคลต่างๆ ที่ดำเนินไปด้วยความถูกต้อง จัดว่าเป็นหลักจริยธรรมที่จำเป็นและสำคัญมากที่จะทำให้ผู้ปฏิบัติจะได้มีกำลังในการปฏิบัติตามมงคลชีวิตจากระดับต้น จนถึงระดับสูง
๒. การทำบุญถวายทาน เป็นหลักการดำเนินชีวิตของคนไทยอีกประการหนึ่ง เป็นการสละออกซึ่งความตระหนี่ และเป็นหลักจริยธรรมเบื้องต้นของการดำเนินชีวิต เช่น การตักบาตร เลี้ยงพระ ทอดกฐิน ทอดผ้าป่า เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ในการทำบุญให้ทานนั้น เจตนาถือว่า เป็นสิ่งสำคัญ ผู้ให้จะต้องมีเจตนาทั้ง ๓ กาล คือ ก่อนให้ทาน ขณะให้ทาน และหลังให้ทาน ดังพุทธพจน์ว่า ทายากก่อนแต่จะให้ย่อมเป็นผู้มีใจดี กำลังให้ทานอยู่ก็ยังมีจิตใจผ่องใส ครั้นให้แล้ว ก็ย่อมปลาบปลื้มจิต นี้เป็นความสมบูรณ์ของทายก (องฺ.ฉกฺก. ๒๒/๓๐๘/๓๐๖)
ส่วนวัตถุที่ควรให้ทานนั้น มี ๑๐ ประการ คือ ทานวัตถุเหล่านี้คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม ของลูบไล้ ที่นอน ที่พัก เครื่องตามประทีป (องฺ.สฺตฺตก. ๒๓/๔๙/๕๔)
ชาวไทยนิยมทำบุญไม่ว่าจะปรารภเหตุใด ๆ ก็ให้เข้ากับหลักบุญกิริยาวัตถุ ๓ ประการ คือ (๑) ทานมัย ทำบุญด้วยการให้ปันสิ่งของ (๒) สีลมัย ทำบุญด้วยการรักษาศีล และ (๓) ภาวนามัย ทำบุญด้วยการเจริญภาวนา คือ ฝึกอบรมจิตใจ โดยหลักการทั้ง ๓ ประการนี้ การทำบุญซึ่งเป็นหลักบำเพ็ญความดีและทำในกรณีต่างๆ กันตามเหตุผลที่ปรารภจึงเกิดพิธีกรรมขึ้นหลายประการ
กล่าวโดยสรุป คือ การพัฒนาชีวิตและการแก้ปัญหาชีวิตตามหลักของพุทธจริยธรรม เป็นหลักการปฏิบัติตนเพื่อการดำรงที่ดี และการอยู่ร่วมกันด้วยดีของสังคม พุทธจริยธรรมที่ควรนำมาใช้ ได้แก่การปฏิบัติตนตามพุทธโอวาท ๓ คือ การไม่ทำความชั่วทั้งปวง การทำแต่ความดี และการทำจิตใจให้ผ่องแผ้ว ซึ่งมีพื้นฐานมาจากพุทธจริยธรรม ๓ ระดับ คือ ๑. พุทธจริยธรรมขั้นพื้นฐาน ได้แก่เบญจศีล และเบญจธรรม ๒. พุทธจริยธรรมขั้นกลาง ได้แก่ กุศลกรรมบถ ๑๐ ๓. พุทธจริยธรรมขั้นสูง ได้แก่ มรรคมีองค์ ๘

พุทธจริยธรรมกลุ่มสัจการแห่งตน
พุทธจริยธรรมในกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ช่วยให้มนุษย์ได้มองเห็นตนเองอย่างมีหลักเกณฑ์ และทำให้มีความเคารพต่อตนเองและผู้อื่น สามารถปฏิบัติตนต่อเหตุการณ์ที่ได้พบและต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องได้ตามความเหมาะสม เช่น มีความซื่อสัตย์ ความเสียสละ เป็นต้น พุทธจริยธรรมในกลุ่มนี้ ได้แก่
๑. คารวธรรม หมายถึง ความเคารพ การถือเป็นสิ่งสำคัญใส่ใจและปฏิบัติตนด้วยความเอื้อเฟื้อ หรือโดยหนักแน่นจริงจัง การมองเห็นคุณค่าและความสำคัญแล้วปฏิบัติตนต่อบุคคล หรือสิ่งนั้นโดยถูกต้อง ด้วยความจริงใจ ลักษณะของความเคารพมีดังนี้ ๑) ความสุภาพอ่อนโยน หมายถึงการแสดงออกซึ่งกิริยาวาจาสุภาพอ่อนโยนต่อบุคคลทั่วไป ๒) ความอ่อนน้อม หมายถึงการไม่ทำตัวให้แข็งกระด้าง ไม่ประพฤติผิดในสิ่งที่หยาบคายต่อบุคคลอื่น ๆ ทั้งทางกาย วาจา และทางใจ ๓) ความเชื่อฟัง หมายถึงการไม่ดื้อรั้น รับฟังด้วยเหตุผล ยอมรับปฏิบัติตามด้วยความจริงใจและเต็มใจเป็นอย่างยิ่ง ๔) ความรู้จักสถานที่ หมายถึงรู้จักวางตัวได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับกาลเวลา คือเลือกประพฤติตัวได้อย่างพอเหมาะพอควรทั้งต่อบุคคลและสถานที่ มี ๖ ประการ คือ (องฺ.ฉกฺก.๒๒/๓๐๓/๓๐๐)
๑.๑ พุทธคารวตา ความเคารพในพระพุทธเจ้า หรือบางแห่งเรียกว่า "สัตถุคารวตา" ข้อนี้นับเป็นคุณสมบัติที่สำคัญที่จะต้องแสดงออกด้วยความเคารพอย่างจริงจังและด้วยศรัทธา เพราะถ้าขาดความศรัทธาแล้ว คุณธรรมข้ออื่น ๆ ก็จะไม่เกิดขึ้น ถึงแม้ว่าพระพุทธเจ้าจะปรินิพพานไปนานแล้ว แต่สัญลักษณ์หรือสิ่งที่ทำให้ระลึกถึงพระพุทธองค์ยังปรากฏอยู่ เช่น พระบรมสารีริกธาตุ สังเวชนียสถานทั้ง ๔ และพระพุทธรูป เป็นต้น
๑.๒ ธัมมคารวตา ความเคารพในพระธรรม อันหมายถึงพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธศาสนา ทั้งที่เป็นส่วนพระธรรม และพระวินัย ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงและบัญญัติ
ไว้แล้ว รวมทั้งการเคารพต่อคัมภีร์พระธรรมวินัย โดยไม่แสดงอาการดูหมิ่น
๑.๓ สังฆคารวตา ความเคารพในพระสงฆ์ทั้งที่เป็นพระอริยสงฆ์ และสมมติสงฆ์ โดยแสดงความเคารพดังนี้ คือ ไม่แสดงกริยาวาจารที่ดูหมิ่นเหยียดหยาม ไม่ปลอมแปลงเป็นเพศพระสงฆ์ และหมั่นเข้าไปหาท่านเพื่อสนทนาธรรม และฟังธรรมะจากท่านบ่อยๆ
๑.๔ สิกขาคารวตา ความเคารพในสิกขา หมายถึง ความเคารพต่อการศึกษาเล่าเรียน ในที่นี้ หมายถึง ความเคารพในไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ และปัญญา เพื่อให้เกิดความตั้งมั่น และให้เกิดปัญญา คือความรู้ในกองสังขารทั้ง ๕ อันจะเป็นแนวทางให้บรรลุถึงพระนิพพานได้
๑.๕ อัปปมาทคารวตา ความเคารพในความไม่ประมาท หมายถึง เคารพในความเพียรพยายามเพื่อละอกุศลทุจริต และประพฤติปฏิบัติในกุศลสุจริต หรือเคารพในการพยายามเพื่อละความชั่ว และประกอบคุณงามความดีอยู่เสมอ หรือ หมายถึงการแสดงเคารพในการประกอบกิจการงานทุกอย่างทั้งโดยส่วนและส่วนตนด้วยสติสัมปชัญญะ
๑.๖ ปฏิสันถารคารวตา ความเคารพในการปฏิสันถาร หมายถึง ความเคารพในการต้อนรับแขกผู้มาเยือนด้วยอัธยาศัยไม่ตรีที่ดีต่อกัน อันแสดงออกถึงความมีน้ำใจ ความโอบอ้อมอารีต่อกัน ซึ่งการปฏิสันถาร มี ๒ ประการคือ ๑) อามิสปฏิสันถาร คือ การต้อนรับด้วยอามิสสิ่งของ ๒) ธัมมปฏิสันถาร คือการต้อนรับด้วยการกล่าวธรรม หรือสนทนาปราศรัยด้วยธรรมะ
๒. ฆราวาสธรรม คือ ธรรมสำหรับผู้ครองเรือน หรือคฤหัสถ์ เป็นธรรมที่จะนำความสุข และเป็นสามัคคีธรรม ช่วยให้บุคคลในตระกูลมีความสมานสามัคคี ทำให้ชีวิตในการมีความสุข ความสงบ อันสมควรแก่ฆราวาสวิสัย มี ๔ ประการ คือ (สํ.ส. ๑๕/๘๔๕/๒๕๘)
๒.๑ สัจจะ ความซื่อสัตย์ต่อกัน ความจริงใจ ความซื่อตรง เป็นพุทธจริยธรรมที่สำคัญในการคบหากับทุกชนชั้นจนถึงผู้อยู่ครองเรือนเดียวกัน เช่น สามี ภรรยา บิดามารดากับบุตร เป็นต้น
๒.๒ ทมะ ความข่มใจ การฝึกฝน เป็นข้อปฏิบัติเพื่อไม่ให้ตนเองตกไปอยู่ในอำนาจกิเลส หรือถูกอารมณ์ต่าง ๆ ครอบงำจิตใจ ให้มีสติระวังทวารภายนอก คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และทวารภายใน คือ ใจ เมื่อถูก รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ มาปรากฏในทวารภายนอกก็ดี อย่าให้อารมณ์เหล่านี้ครอบงำได้ ให้รู้จักควบคุมและแก้ไขข้อบกพร่อง ปรับปรุงตนให้เจริญก้าวหน้าด้วยสติปัญญา
๒.๓ ขันติ ความอดทน ตั้งมั่นในการทำหน้าการงานด้วยความขยันหมั่นเพียร เข้มแข็ง ทนทาน ไม่หวั่นไหว มั่นใจในจุดหมาย ไม่ท้อถอย อดกลั้นต่ออารมณ์อันเกิดจากอำนาจโทสะ
๒.๔ จาคะ การให้ปันสิ่งของของตน เสียสละความสุขสบายและผลประโยชน์ส่วนตนได้ ใจกว้าง พร้อมที่จะรับฟังความทุกข์ ความคิดเห็น และความต้องการของผู้อื่น พร้อมที่จะร่วมมือ ช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่คับแคบเห็นแก่ตนหรือเอาแต่ใจตัวเอง พร้อมกันนั้น นอกจากนี้ จาคะ ยังหมายถึงการสละกิเลสอีกด้วย
ที่มา : สาคร ศรีดี. (๒๕๔๕). วิเคราะห์หลักพุทธจริยธรรมที่ปรากฏในเพลงพื้นบ้านจังหวัดสุพรรณบุรี: ศึกษาเฉพาะกรณีเพลงอีแซว. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาจริยศาสตร์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

บทความที่ 5 เกณฑ์ตัดสินความดีความชั่วในพระพุทธศาสนา
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) (๒๕๔๒: ๑๗๙) ได้กล่าวถึงเกณฑ์วินิจฉัยกรรมดีและกรรมชั่วว่า ในแง่ของกรรมให้ถือเอาเจตนาเป็นหลักตัดสินว่าเป็นกรรมหรือไม่ และในแง่ที่ว่ากรรมนั้นดีหรือชั่ว ให้พิจารณาตามเกณฑ์หลัก คือ การตัดสินด้วยความเป็นกุศลหรือเป็นอกุศล โดย
๑. พิจารณามูลเหตุว่า เป็นเจตนาที่เกิดจากกุศลมูล คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ หรือเกิดจากอกุศลมูลคือ โลภะ โทสะ โมหะ
เนื่องจากพระพุทธศาสนาเชื่อว่าสิ่งที่เป็นต้นเหตุ หรือแรงผลักดันที่ทำให้มนุษย์ทำกรรมต่าง ๆ มีอยู่ ๒ ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายแรกคือกุศลมูล (รากเหง้าของความดี) ฝ่ายที่สองคือ อกุศลมูล (รากเหง้าของความชั่ว) ถ้าการกระทำนั้นเป็นไปโดยแรงผลักดันฝ่ายดีหรือกุศลมูล (ได้แก่ ความไม่โลภ ความไม่โกรธ ความไม่หลง) การกระทำนั้นถือว่าเป็นการกระทำความดี แต่ถ้าเป็นไปโดยแรงผลักดันฝ่ายชั่วหรืออกุศลมูล (ได้แก่ ความโลภ ความโกรธ ความหลง) การกระทำนั้นถือว่าเป็นการกระทำชั่ว ผลที่ได้รับก็คือความเสียหาย ทุกข์ และโทษ
๒. พิจารณาตามสภาวะ เป็นสภาพเกื้อกูลแก่ชีวิตจิตใจหรือไม่ ทำให้จิตสบายไร้โรค ปลอดโปร่ง ผ่องใส สมบูรณ์หรือไม่ ส่งเสริมหรือบั่นรอนคุณภาพและสมรรถภาพของจิต ช่วยให้กุศล (สภาพที่เกื้อกูล) ทั้งหลายเจริญงอกงามขึ้น อกุศลธรรมทั้งหลายลดน้องลง หรือทำให้กุศลธรรมลดน้องลง อกุศลธรรมทั้งหลายเจริญงอกงาม ตลอดจนมีผลต่อบุคลิกภาพอย่างไร
นอกเหนือจากเกณฑ์หลักดังกล่าวในข้างต้น พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) (๒๕๔๒: ๑๗๙) ได้เสนอเกณฑ์ร่วม เพื่อใช้ประกอบการตัดสินความดีความชั่ว ดังนี้
๑. ใช้มโนธรรม คือความรู้สึกผิดชอบชั่วดีของตนเองพิจารณาว่า การที่กระทำนั้น ตนเองติเตียนตนเองได้หรือไม่ เสียความเคารพหรือไม่
๒. พิจารณาการยอมรับของวิญญูชน หรือนักปราชญ์หรือบัณฑิตชน ว่าเป็นสิ่งที่วิญญูชนยอมรับหรือไม่ ชื่นชมสรรเสริญ หรือตำหนิติเตียน
๓. พิจารณาลักษณะและผลของการกระทำทั้งต่อตนเองและผู้อื่นว่า
๓.๑ เป็นการเบียดเบียนตนเอง เบียดเบียนผู้อื่น ทำตนเองหรือผู้อื่นให้เดือดร้อนหรือไม่
๓.๒ เป็นไปเพื่อประโยชน์สุข หรือเป็นไปเพื่อทุกข์ ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น
ที่มา : ธรรมปิฎก, พระ (ป.อ.ปยุตฺโต). (๒๕๔๑). พุทธธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ ๘). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย. ดวงเด่น นุเรมรัมย์. (๒๕๔๕). พุทธจริยศาสตร์กับแนวคิดเรื่องสงครามที่เป็นธรรม: กรณีศึกษาทรรศนะของนักวิชาการในบริบทสังคมไทยร่วมสมัย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาจริยศาสตร์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล

สุภาษิตอีสาณบ้านเฮา

ภาษิตอีสานบ้านเรา

เดือน ๑
ตกฤดูเดือนอ้ายสายลมโชยหนาวหน่วง เดือนนี้ตกหว่างช่วงสังโฆเจ้า เฮามาพากันค้ำทำบุญตักบาตร ปริวาสซ่อยยู้ชูค้ำศาสนา

เดือน ๒
ฮอดเดือนสองมาอย่าช้ายามข้าวใหม่ปลามัน ให้เฮามาโฮมกันแต่งบุญประทายข้าวเชิญให้มาโฮมเต้า อย่าพากันขี้ถี่ บุญคูณลานของเก่านี้ให้เฮาได้ฮักสา

เดือน ๓
ฮอดเดือนสามมาท้องฟ้า ปลอดโปร่งสดใส ไปทางได๋เห็นแต่คนทำบุญซั่วแซวเต็มคุ้ม เหลียวเห็นชุมสาวน้อยพากันปิ้งข้าวจี่ เฮือนละสี่ห้าปั้นพอได้ดอกใส่บุญ บางผ่องมีข้าวปุ้นตกแต่งอาหาร มีเทิงหวาน เทิงคาว หมู่เฮามาโฮมต้อน
เดือนสามคล้อยเจ้าหัวคอยปั้นข้าวจี่ ข้าวจี่บ่ใส่น้ำอ้อยจั่วน้อยเช็ดน้ำตา

เดือน ๔
ให้คอยซอมไปทางหน้าเดือนสิมาเป็นเดือนสี่ หลังจากบุญข้าวจี่แล้วถึงบุญ
ผะเวสเจ้า เฮาสิได้ดอกแต่งทาน โขงเขตบ้านย่านถิ่นแดนอีสาน สุขสำราญเหลือหลายม่วนยินกะเลยฟ้อน ตอนหว่าง ตอนคนตั้งใจฟังทางน้องพี่ ตอนกัณหาชาลี สิพรากพ่อแม่แก้ว คนสิให้กั้นบ่ฟัง มีเพียงปีละครั้ง ให้เฮาซ่อยกันสานจัดเป็นงานประจำปีประเพณี ให้หมู่ชนหลังฮู้

เดือน ๕
ตกฤดูเดือนห้าสายลมบ่มาผ่าน เห็นดอกจานเพิ่นแย้มบานเย้ยอยู่ถ่งนา เดือนนี้บ่ได้ช้าปีใหม่เข้ามาเถิง ให้พากันทำบุญปล่อยเต่าปลาลงน้ำ เต่าสิถามหาพุ้นคนใจบุญสิมาปล่อยนกสิงอยง่าไม้ คอยถ้าตั้งแต่ฝน เดือนนี้ม่วนล้นๆคนกะหลั่งมาหลายเอาทรายมากองก่อเจดีย์ไว้
เดือน ๖
ฮอดเดือนหก ฟังเสียงฟ้าไขประตูอ้องบอกข่าวเมืองคน มีแต่ลมกับฝนสงเสียงกึกก้องสายตามองดูแล้วในใจก็หากมองได้ยินเสียงเขียดอีโม้ ลำเกี้ยวใส่ผู้สาว
เห็นปลาขาว ปลาชิว ปลานิล ปลากะเดิก แล่นหยอกกันเล่นหลากหลาย
เดื่อนนี่ เปิดโทษอ้ายบ่มีเรื่องเลอหลัง อัสดงดวงอาทิตย์ลับลงปลายไม้
เห็นแต่สิเน้นวันเพ็ญ ๑๕ ค่ำ วิสาขาประเสิรฐล้ำ ชาวบ้านอยู่หลายไผกะยิ้มเป้ย ๆ
ลงวัดเวียนเทียนเดือนใดเวียนมาถึงคุณครองเจ้า

เดือน ๗
เดือนเจ็ดเผาความฮ้าย อันตรายบ่มาผ่านนิมนต์พระขึ้นบ้าน เล็งเป้าเข้าใส่ธรรม บุญสิมาช่อยค้ำชูส่งราศี บารมีผลทานสิไล่มารเลยพ้น ตั้งแต่คนเฮาได้ เคยได้ยินแต่ปางก่อนบุญชำฮะสละความเดือดฮ้อน เมืองบ้านสิชุ่มเย็น

เดือน ๘
เดือนแปดมาฮอดจันทร์เพ็งแจ้ง ทอแสงใสสง่าเดือนแปดมาฮอดสิแววขึ้นลื่นหลัง เดือนนี้สงฆ์เผิ่นยั้งเข้าอยู่จำพรรษา ภาวนาอบรมข่มใจทุกแลงเช้า เฮามาพากันเข้าทำบุญพร้อมพร่ำ ถวายผ้าอาบน้ำให้ยาท่านเพิ่นใช้สอย เดือนปดคล้อยเข้าลมสิทั่งใบเสียว เหลียวเห็นฝูงปลาขาว แล่นลงโฮมต้อน กบเพิ่นนอนคอยท่าฝนมาสิได้ม่วน ลงแล่นน้ำโฮฮ้องสั่นแซว

เดือนเก้า ๙
เดือนเก้ามาฮอดแล้วบ้านป่าขาดอน เห็นนกเขางอนคอนส่งเสียงหาชู้ เถิงฤดูเดือนเก้าอีสานเฮาท้องถิ่น คงสิเคยได้ยินประดับดินก้อนข้าวทานทอดน้อมถวาย พ้นจากมารหยาบฮ้าย พากันอยู่เป็นสุข บ่มีโพยภัยทุกข์ ผ่านกลายมาใกล้ มีแต่ใสสดชื่นคืนวันแสนม่วน ต่างกะชวนพี่น้องลงเต้าแต่งทาน เดือนเก้าได้เป็นกาลแห่งวัสสากาล ประชาชนชาวเมืองกะเล่าเตรียมตัวพร้อม พากันทานยังข้างประดับดินกินก่อน ทายกทานให้เจ้าพระสงฆ์พร้อมสู่ภาย ทำจั่งชี้บ่ฮ้าย ถึงขอบปีมาพระราชาในเมืองกะจงทำแนวนี้ ฮีตหากมีมาแล้ว วางลงให้ถือต่อ จำไว้เด้อญาติโยมพ่อพี่น้อง อาตมาเว้าให้เล่าจำ
เดือน ๑๐
เดือนสิบฮีตหนึ่งนั้นพอเถิง เดือนสิบแล้วทายกโดยทาน เบิกพลีกรรมทำทานต่อมาสองซ้ำ ข้าวสากนำไปให้สังโฆทานทอด พากันหวังยอดแก้วนิพพานพุ้นที่สูง ฝูงหมู่ลุงอาวป้า คนาเมืองน้อมส่ง ศรัทธาลงทอดไว้ทานให้แผ่ไป อุทิศให้ฝูงเปรตเปโต พากันโมทนานำสู่คนจนเกลี้ยง

เดือน ๑๑
เดือนสิบเอ็ดว่านั้น หัวลมอ่วยเชยหนาว ช่วงผู้สาวสิผิวลายส่วนผู้ชายสิผิวเกลี้ยง ได้ยินเสียงลมต้องกกชำสาอยู่เวิ่น ๆ คือกับเสียงเฮียกเอิ้น ว่าออกพรรษาแล้ว พระสงฆ์เจ้ากะสิลาแม่ออกค้ำ เมือบ้านบ่อนอยู่เดิม